กิจกรรมโครงการ
- 1. กิจกรรมปกปักทรัพยากร
- 2. กิจกรรมสำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากร
- 3. กิจกรรมปลูกรักษาทรัพยากร
- 4. กิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากร
- 5. กิจกรรมศูนย์ข้อมูลทรัพยากร
- 6. กิจกรรมวางแผนพัฒนาพันธุ์พืช
- 7. กิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากร
- 8. กิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากร
กิจกรรมปกปักทรัพยากร
กิจกรรมนี้จัดอยู่ในกรอบการเรียนรู้ทรัพยากร เป้าหมายเพื่อปกปักรักษาพื้นที่ป่าธรรมชาติของหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริ ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่มีพื้นที่ป่าดั้งเดิมอยู่ในความรับผิดชอบ โดยไม่มีนโยบายจะเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ แต่จะต้องเป็นพื้นที่นอกเหนือจากพื้นที่ของกรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช หรือจะต้องไม่เป็นพื้นที่ที่มีปัญหากับราษฎรโดยเด็ดขาด วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านการพัฒนาและด้านการบริหารจัดการด้านปกปักทรัพยากรของประเทศ
ทางศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ได้ได้ดำเนินโครงการในกิจกรรมนี้จำนวน ๒ โครงการ ได้แก่ การปกปักพันธุกรรมพืชในพื้นที่วิทยาลัยน่าน และอาสาสมัครปกปักรักษาทรัพยากรในมหาวิทยาลัย หมู่บ้าน ตำบล มีรายละเอียด ดังนี้
๑.๑ โครงการปกปักพันธุกรรมพืชในพื้นที่วิทยาลัยน่าน
ตามแนวทางการดำเนินงานของแผนแม่บท อพ.สธ. ระยะ ๕ ปีที่เจ็ด (ตุลาคม ๒๕๖๔ ถึงกันยายน ๒๕๖๙) มีกิจกรรม ๘ กิจกรรม อยู่ภายใต้กรอบการดำเนินงาน ๓ กรอบ กิจกรรมปกปักทรัพยากรเป็นกิจกรรมที่อยู่ในกรอบการเรียนรู้ทรัพยากร เป็นกรอบการดำเนินงานที่เน้นในเรื่องของการรักษาพื้นป่าธรรมชาติดั้งเดิมที่มีอยู่ของหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริเป็นเจ้าของครอบครองโดยถูกกฎหมาย ตลอดจนการศึกษาเรียนรู้ในพื้นที่นั้น ๆ ว่าทรัพยากรอะไร เพื่อวางแผนดำเนินการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ โดยกิจกรรมปกปักทรัพยากร ทรัพยากร เป้าหมายเพื่อปกปักรักษาพื้นที่ป่าธรรมชาติของหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริ ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่มีพื้นที่ป่าดั้งเดิมอยู่ในความรับผิดชอบ โดยไม่มีนโยบายจะเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ แต่จะต้องเป็นพื้นที่นอกเหนือจากพื้นที่ของกรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช หรือจะต้องไม่เป็นพื้นที่ที่มีปัญหากับราษฎรโดยเด็ดขาด
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ร่วมสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ดำเนินงานสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในการส่งเสริมและสืบสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในการปฏิบัติภารกิจของมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น วิทยาลัยน่านเป็นวิทยาเขตในพื้นที่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ตั้งอยู่ตำบลทุ่งศรีทอง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน มีพื้นที่ปกปักทั้งหมด ๑๕ ไร่ มีความอุดมสมบูรณ์และมีพืชพรรณท้องถิ่นจำนวนมาก ซึ่งมีความสำคัญต่อระบบนิเวศในชุมชน อพ.สธ.-มรอ. ได้เล็งเห็นความสำคัญของพื้นที่ปกปักในพื้นที่วิทยาลัยน่าน จึงได้จัดโครงการปกปักพันธุกรรมพืชในพื้นที่วิทยาลัยน่าน เพื่อปกปักพันธุกรรมพืช โดยเฉพาะพืชท้องถิ่น ไม่ให้สูญพันธุ์ไป นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชให้แก่นักศึกษาและเยาวชนในท้องถิ่นอีกด้วย การสำรวจทรัพยากรในพื้นที่ปกปัก ๑๕ ไร่นี้จะดำเนินการทีละส่วน โดยแบ่งพื้นที่เป็นแปลงเพื่อให้สะดวกต่อการดำเนินงาน
๑.๒ อาสาสมัครปกปักรักษาทรัพยากรในมหาวิทยาลัย หมู่บ้าน ตำบล
กรอบการดำเนินงานตามแผนแม่บทของโครงการ อพ.สธ. มี ๓ กรอบ ได้แก่ กรอบการเรียนรู้ทรัพยากร กรอบการใช้ประโยชน์ และกรอบการสร้างจิตสำนึก โดยเน้นในฐานทรัพยากร ๓ ฐาน คือ ทรัพยากรชีวภาพ ทรัพยากรกายภาพ และทรัพยากรวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ร่วมสนองพระราชดำริ อพ.สธ. ดำเนินงานตามแผนแม่บทมาอย่างต่อเนื่อง โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ร่วมสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ดำเนินงานสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในการส่งเสริมและสืบสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในการปฏิบัติภารกิจของมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
วิทยาลัยน่าน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เป็นในพื้นที่บริการการศึกษาในความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ตั้งอยู่ ๑๙๙ บ้านทุ่งผง ตำบลทุ่งศรีทอง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน มีพื้นที่รวมทั้งหมด ๗๓๐ ไร่ โดยใช้พื้นพี่สำหรับจัดการศึกษา ๔๐๐ ไร่ และมีพื้นที่สำหรับรักษาทรัพยากรในมหาวิทยาลัย ๓๓๐ ไร่ พื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีพืชพรรณท้องถิ่นจำนวนมาก ซึ่งมีความสำคัญต่อระบบนิเวศในชุมชน อพ.สธ.-มรอ. ได้เล็งเห็นความสำคัญของพื้นที่ปกปักรักษาทรัพยากรในพื้นที่วิทยาลัยน่าน ดังนั้นจึงได้จัดโครงการปกปักพันธุกรรมพืชในพื้นที่วิทยาลัยน่าน เพื่อปกปักทรัพยากร โดยเฉพาะพืชท้องถิ่นไม่ให้สูญพันธุ์ไป นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรให้แก่นักศึกษาและเยาวชนในท้องถิ่นอีกด้วย โดยการสำรวจทรัพยากรในพื้นที่ปกปัก ๓๓๐ ไร่นี้จะดำเนินการทีละส่วน โดยแบ่งพื้นที่เป็นแปลงเพื่อให้สะดวกต่อการดำเนินงาน
กิจกรรมสำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากร
กิจกรรมนี้จัดอยู่ในกรอบการเรียนรู้ทรัพยากร มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านการพัฒนาและด้านการบริหารจัดการด้านปกปักทรัพยากรของประเทศ
ทางศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มรอ. ได้ดำเนินโครงการภายใต้โครงการการสำรวจเก็บรวบรวมปกปักทรัพยากรชีวภาพ ทรัพยากรกายภาพ และทรัพยากรวัฒนธรรมและภูมิปัญญา
โครงการการสำรวจเก็บรวบรวมปกปักทรัพยากรชีวภาพ ทรัพยากรกายภาพ และทรัพยากรวัฒนธรรมและภูมิปัญญา
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ร่วมสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ดำเนินงานสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในการส่งเสริมและสืบสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในการปฏิบัติภารกิจของมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นมาอย่างต่อเนื่อง
จากทรัพยากรธรรมชาติที่มีจำนวนมากและมีความหลากหลาย ทางศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มรอ. มีบทบาทในการสร้างความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อมให้แก่อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จึงได้เล็งเห็นความสำคัญ โดยร่วมมือกับหน่วยงานแต่ละคณะในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์สนับสนุนโครงการการสำรวจเก็บรวบรวมปกปักทรัพยากรชีวภาพ ทรัพยากรกายภาพ และทรัพยากรวัฒนธรรมและภูมิปัญญา เพื่อให้ทราบถึงทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ที่ทราบแน่ชัดว่ากำลังจะเปลี่ยนแปลงจากสภาพเดิม ในการจัดโครงการการสำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมทรัพยากรชีวภาพ ทรัพยากรกายภาพ และทรัพยากรวัฒนธรรมและภูมิปัญญา เพื่อสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีและเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนให้เกิดขึ้นในชุมชน
กิจกรรมปลูกรักษาทรัพยากร
กิจกรรมนี้จัดอยู่ในกรอบการเรียนรู้ทรัพยากร มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านการพัฒนาและด้านการบริหารจัดการด้านปลูกรักษาทรัพยากร
ทางศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มรอ. ได้ดำเนินโครงการในกิจกรรมนี้จำนวน ๑ โครงการ ได้แก่ งานปลูกรักษาพันธุกรรมพืช มีรายละเอียดดังนี้
งานปลูกรักษาพันธุกรรมพืช
กิจกรรมปลูกรักษาทรัพยากรเป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากกิจกรรมสำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากร โดยการนำพันธุกรรมไปเพาะและปลูกในพื้นที่ที่ปลอดภัย กำหนดพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินงานตามกรอบแผนแม่บทของ อพ.สธ. ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ร่วมสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และได้ดำเนินงานสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในการส่งเสริมและสืบสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในการปฏิบัติภารกิจของมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์มีแผนการดำเนินงานในกิจกรรมสำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากรในเขตพื้นที่รับผิดชอบ สำหรับพรรณพืชที่สำรวจเก็บรวบรวม มีทั้งแบบที่นำมาปลูกเลี้ยงและแบบที่เป็นตัวอย่างพรรณไม้อัดแห้ง ซึ่งพรรณไม้ที่นำมาปลูกเลี้ยงจำเป็นต้องให้ความสำคัญ เพราะเป็นการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชมิให้สูญพันธุ์ไป และมีโอกาสขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนและปริมาณให้มากขึ้นได้
กิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากร
กิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรจัดอยู่ในกรอบการใช้ประโยชน์ เพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานศึกษาวิจัยใน อพ.สธ. ทั้งในด้านการพัฒนาและการบริหารจัดการให้การดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกันและเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อกัน
งานอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรทั้ง ๓ ฐาน ที่ได้จากการสำรวจเก็บรวบรวม
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ร่วมสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตามพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ข้อที่ ๔ ทำนุบำรุงรักษาศิลปะและวัฒนธรรม สืบสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในการส่งเสริมและสืบสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในการปฏิบัติภารกิจของมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น โดยดำเนินงานตามแผนแม่บทของ อพ.สธ. ระยะ ๕ ปีที่เจ็ด (ตุลาคม ๒๕๕๙-กันยายน ๒๕๖๔) มีกรอบการดำเนินงาน ๓ กรอบ ได้แก่ กรอบการเรียนรู้ทรัพยากร กรอบการใช้ประโยชน์ และกรอบการสร้างจิตสำนึก โดยเน้นในฐานทรัพยากร ๓ ฐาน คือ ทรัพยากรชีวภาพ ทรัพยากรกายภาพ และทรัพยากรวัฒนธรรมและภูมิปัญญา
สำหรับงานวิจัยซึ่งจัดอยู่ในกิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากร มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ได้ดำเนินการศึกษาพืชท้องถิ่นและพืชอนุรักษ์ เช่น ตองกง บวบขม พันงูเขียว และมะเกี๋ยง เป็นต้น และเข้าร่วมสนองพระราชดำริเป็นคณะทำงานการอนุรักษ์และพัฒนาการใช้ประโยชน์จากพืชอนุรักษ์ มีแนวทางการดำเนินงานสอดคล้องตามแผนแม่บท อพ.สธ. พืชที่ได้รับการคัดเลือกเป็นพืชอนุรักษ์ในเบื้องต้นมี ๘ ชนิด ได้แก่ ทุเรียน สัก มะเกี๋ยง มะกิ้ง น้อยหน่าเครือ ตีนฮุ้งดอย กล้วยไม้ และชาเมี่ยง ซึ่งพืชแต่ละชนิดมีศักยภาพที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในหลายด้าน เช่น อาหาร เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพ ยาสมุนไพร เครื่องสำอาง เครื่องจักสาน เป็นต้น ซึ่งจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมในหลายด้าน เช่น ด้านลักษณะประจำพันธุ์ ด้านเขตกรรมและการเพาะขยายพันธุ์ ด้านการใช้ประโยชน์ และด้านการวิจัยเพื่อกำหนดพื้นที่เป้าหมายที่เหมาะสมเพื่อให้มีกิจกรรมเสริมรายได้จากการใช้ประโยชน์จากพืชอนุรักษ์งานอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรทั้ง ๓ ฐาน ในปีงบประมาณ ๒๕๖๖ นี้ ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มรอ.ร่วมมือกับ ผศ.ดร.อังกาบ บุญสูง อาจารย์ประจำหลักสูตรเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จัดทำโครงการพัฒนาเส้นใยธรรมชาติจากเปลือกทุเรียนท้องถิ่นในผ้าทอ จังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อสนับสนุน ทุเรียน ซึ่งเป็นพืชอัตลักษณ์ของจังหวัดอุตรดิตถ์ และยังเป็นพืชอนุรักษ์ของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่ออนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างยั่งยืน
กิจกรรมศูนย์ข้อมูลทรัพยากร
กิจกรรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานศึกษาวิจัยใน อพ.สธ. รวมทั้งพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ อพ.สธ. ให้เป็นเอกภาพ สมบูรณ์ และเป็นปัจจุบัน โดยบรรลุจุดมุ่งหมายตามแนวพระราชดำริ ทางศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มรอ. จึงได้ดำเนินโครงการจัดทำฐานข้อมูล อพ.สธ.-มรอ.
๕.๑ โครงการจัดทำฐานข้อมูล อพ.สธ.-มรอ.
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ร่วมสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ดำเนินงานด้านการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชตามแผนแม่บท อพ.สธ. มีกรอบการดำเนินงาน ๓ กรอบ ได้แก่ กรอบการเรียนรู้ทรัพยากร กรอบการใช้ประโยชน์ และกรอบการสร้างจิตสำนึกมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เยาวชนรวมถึงประชาชนทั่วไปเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของพันธุกรรมพืช นอกจากนี้ยังดำเนินงานสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในการส่งเสริมและสืบสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในการปฏิบัติภารกิจของมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
จากการดำเนินงานสนองพระราชดำริ อพ.สธ. ในกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการ เช่น การสำรวจเก็บรวบรวมข้อมูลฐานทรัพยากรท้องถิ่น การศึกษาวิจัยพืชชนิดต่าง ๆ ในกิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากร และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนในกิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากร ซึ่งมีการศึกษาพรรณไม้ตามองค์ประกอบของงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ๕ องค์ประกอบ ทำให้มีข้อมูลพรรณไม้จำนวนมาก ทาง อพ.สธ.-มรอ. จึงเห็นควรให้จัดทำฐานข้อมูลพรรณไม้ โดยอยู่ภายใต้กิจกรรมศูนย์ข้อมูลทรัพยากร เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ด้านทรัพยากร สำหรับใช้เป็นฐานข้อมูลในการวางแผนการดำเนินงานอนุรักษ์พัฒนาทรัพยากรเพื่อเผยแพร่สู่ระดับสากลต่อไป
กิจกรรมวางแผนพัฒนาพันธุ์พืช
เป็นกิจกรรมที่นำข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลพันธุ์กรรมพืชที่ได้จากการศึกษาประเมิน การสำรวจเก็บรวบรวม การปลูกรักษาพันธุ์กรรมพืชที่มีนำมาให้ผู้ทรงคณวุฒศึกษาและวางแผน พัฒนาพันธุ์พืช เพื่อให้มีพันธุ์ตามความต้องการในอนาคต โดยเป็นการวางแผนระยะยาว ๓๐ - ๕๐ ปี สำหรับพันธุ์พืชลักษณะต่างๆ ที่เป็นที่ต้องการของช่วงเวลานั้น ๆ เป็นการพัฒนาโดยมีแผน ล่วงหน้า เมื่อผู้ทรงคุณวุฒได้แผนพัฒนาพันธุ์พืชเป้าหมายแล้ว จึงนำทลูเกล้าฯถวาย สมเด็จพระเทพ รัตนราชสดาฯ สยามบรมราชกมาร เพื่อทรงมีพระราชวินิจฉัยและพระราชทานให้กับหน่วยงานที่มี ศักยภาพในการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์พืช เช่น กรมวิชาการเกษตร ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดาริฯ ศูนย์บริการการพัฒนาขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลบ้านไร่อันเนื่องมาจาก พระราชดาริฯ เป็นต้น
แนวทางการดำเนินกิจกรรม
๖.๑ คัดเลือกพันธุ์พืชที่ผู้ทรงคณวุฒพิจารณาแล้วว่าควรมีการวางแผนพัฒนาพันธุ์เพื่อการ ใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคต
๖.๒ ดำเนินการทลูเกล้าฯ ถวายแผนการพัฒนาพันธุ์พืชทคัดเลือกแล้ว เพื่อให้สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร ทรงมีพระราชวินิจฉัยและพระราชทานให้กับ หน่วยงานที่มีศักยภาพในการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์พืชชนิดนั้น ๆ ให้เป็นไปตามเป้าหมาย
๖.๓ ประสานงานเพื่อให้หน่วยงานที่มีความพร้อมในการพัฒนาพันธุ์พืชดำเนินการพัฒนาพันธุ์พืช และนำออกไปสู่ประชาชน และอาจนำไปปลูกเพื่อเป็นการค้าต่อไป
๖.๔ ดำเนินการจดสูทธิบัตรพันธุ์พืชใหม่ที่ได้มาจากการพัฒนาพันธุ์พืชดั้งเดิม
กิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากร
กิจกรรมนี้จัดอยู่ในกรอบการสร้างจิตสำนึก มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆโดยเฉพาะเยาวชน นักเรียน นิสิตนักศึกษา และบุคคลทั่วไป ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพืชพรรณไม้ และการอนุรักษ์ทรัพยากรของประเทศ จนตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของการอนุรักษ์ทรัพยากรที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อมหาชนชาวไทย ซึ่งทางมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ได้ดำเนินงานในกิจกรรมนี้ คือ งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนจัดอยู่ในกิจกรรมที่ ๗ ของ อพ.สธ. กิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากร ซึ่งพระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินการกับเยาวชน โดยการฝึกอบรมให้เห็นคุณค่า ประโยชน์ ความงดงาม เกิดความปีติที่จะทำการอนุรักษ์ แทนที่จะสอนให้อนุรักษ์แล้วเกิดความเครียด เป็นการเรียนรู้พืชพรรณและสรรพสิ่งโดยรอบ โดยมีการรวบรวมพันธุ์ไม้ที่มีชีวิต มีแหล่งข้อมูลพรรณไม้ มีการศึกษาต่อเนื่อง เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ไม้ท้องถิ่นและภูมิปัญญาท้องถิ่น ดำเนินงานในสถานศึกษาตามองค์ประกอบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ๕ องค์ประกอบ ได้แก่ การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้ การรวบรวมพรรณไม้เข้าปลูกในโรงเรียน การศึกษาข้อมูลด้านต่าง ๆ การรายงานผลการเรียนรู้ และการนำไปใช้ประโยชน์ทางการศึกษา และสาระการเรียนรู้ ๓ สาระ คือ ธรรมชาติแห่งชีวิต สรรพสิ่งล้วนพันเกี่ยว และประโยชน์แท้แก่มหาชน การดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนนี้มีนโยบาย คือ เข้มข้น (เนื้อหาวิชาการมากขึ้น) เข้มแข็ง (มีผู้เข้าร่วมมากขึ้น) พัฒนา (พัฒนาไปสู่ประโยชน์แท้) ซึ่งสถานศึกษาที่ดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนมาอย่างต่อเนื่องและมีความพร้อม สามารถขอรับการประเมินสถานศึกษาเพื่อขอรับพระราชทานป้ายสนองพระราชดำริและเกียรติบัตรงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์สมัครเป็นสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ดำเนินงานตามองค์ประกอบ ๕ องค์ประกอบ และได้รับพระราชทาน “ป้ายสนองพระราชดำริในงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน” เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๔๓ และดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้เยาวชนเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของทรัพยากรไทย
กิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากร
กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ดำเนินงานเกี่ยวข้องและสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ของ อพ.สธ. เช่น การจัดงานประชุมวิชาการและนิทรรศการต่าง ๆ การจัดอบรมต่าง ๆ ของหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริ หรือการจัดทำหนังสือ เป็นต้น ทางศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มรอ. ดำเนินงานในกิจกรรมนี้หลายโครงการ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
การสนับสนุนโรงเรียนเข้าร่วมสนองพระราชดำริ อพ.สธ. ในงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
๘.๑.๑ การดำเนินงานอื่น ๆ เพื่อเป็นการสนับสนุนโรงเรียนเข้าร่วมสนองพระราชดำริ อพ.สธ.
ในงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
การดำเนินงาน อพ.สธ. ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ จนถึงปัจจุบันมีหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมสนองพระราชดำริเพิ่มขึ้นมากกว่า ๒๑๑ หน่วยงาน สมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนซึ่งเป็นสถานศึกษาเป็นสมาชิกมากกว่า ๖,๒๑๔ แห่ง (ข้อมูล ณ วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๕) ยิ่งไปกว่านั้นในแผนแม่บทระยะ ๕ ปีที่ห้า อพ.สธ. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นขอเข้าร่วมสนองพระราชดำริโดยพระราชานุญาตให้เป็นหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริ อพ.สธ. เป็นนโยบายสนับสนุนให้สถานศึกษาในการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ซึ่งดำเนินงานอยู่ภายใต้กรอบการสร้างจิตสำนึก กิจกรรมที่ ๗ กิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากร งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนจัดอยู่ในกิจกรรมที่ ๗ ของ อพ.สธ. กิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากร ซึ่งพระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินการกับเยาวชน โดยการฝึกอบรมให้เห็นคุณค่า ประโยชน์ ความงดงาม เกิดความปีติที่จะทำการอนุรักษ์ แทนที่จะสอนให้อนุรักษ์แล้วเกิดความเครียด เป็นการเรียนรู้พืชพรรณและสรรพสิ่งโดยรอบ โดยมีการรวบรวมพันธุ์ไม้ที่มีชีวิต มีแหล่งข้อมูลพรรณไม้ มีการศึกษาต่อเนื่อง เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ไม้ท้องถิ่นและภูมิปัญญาท้องถิ่น ดำเนินงานในสถานศึกษาตามองค์ประกอบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ๕ องค์ประกอบ ได้แก่ การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้ การรวบรวมพรรณไม้เข้าปลูกในโรงเรียน การศึกษาข้อมูลด้านต่าง ๆ การรายงานผลการเรียนรู้ และการนำไปใช้ประโยชน์ทางการศึกษา และสาระการเรียนรู้ ๓ สาระ คือ ธรรมชาติแห่งชีวิต สรรพสิ่งล้วนพันเกี่ยว และประโยชน์แท้แก่มหาชน การดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนนี้มีนโยบาย คือ เข้มข้น (เนื้อหาวิชาการมากขึ้น) เข้มแข็ง (มีผู้เข้าร่วมมากขึ้น) พัฒนา (พัฒนาไปสู่ประโยชน์แท้) ซึ่งสถานศึกษาที่ดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนมาอย่างต่อเนื่องและมีความพร้อม สามารถขอรับการประเมินสถานศึกษาเพื่อขอรับพระราชทานป้ายสนองพระราชดำริและเกียรติบัตรงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
โครงการจัดทำฐานข้อมูลเป็นกิจกรรมที่ดำเนินงาน โดยศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืช อพ.สธ. สวนจิตรลดา ร่วมกับหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริ บันทึกข้อมูลของการสำรวจเก็บรวบรวม การศึกษา ประเมิน การอนุรักษ์ และการใช้ประโยชน์ รวมทั้งงานจัดทำฐานข้อมูลพรรณไม้แห้ง นอกจากนั้นยังรวมถึงฐานข้อมูลทรัพยากรอื่นๆ นอกเหนือจากพันธุกรรมพืช เช่น ฐานข้อมูลของสัตว์ และจุลินทรีย์ การจัดการฐานข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่น ข้อมูลต่าง ๆ จากการทำงานในกิจกรรมที่ ๑-๔ โดยการทำบันทึกลงในระบบฐานข้อมูล เพื่อเป็นฐานข้อมูลและระบบที่เชื่อมต่อถึงกันได้ทั่วประเทศ โดยเชื่อโยงกับฐานข้อมูลทรัพยากรของหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริ อพ.สธ. นำไปสู่การวางแผนพัฒนาพันธุ์พืชและทรัพยากรต่าง ๆ โดยที่ อพ.สธ. เป็นที่ปรึกษา ประสานงาน ร่วมมือ พัฒนาการทาศูนย์ข้อมูลฯ กำหนดรูปแบบในการทำฐานข้อมูล โดยกำหนดเป้าหมายในการดำเนินงานในระยะ ๆ ๕ ปี ให้สอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานตามกรอบแผนแม่บทของ อพ.สธ และจัดทำแผนประจำปีเฉพาะในส่วนของหน่วยของตนให้ชัดเจน พร้อมทั้งวางแผนปฏิบัติงานร่วมกันให้ชัดเจน ผ่านการประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน อพ.สธ. ของหน่วยงานนั้น ๆ
๘.๑.๒ การประชุมเตรียมความพร้อมในการเยี่ยมเยียนพิจารณาให้คะแนนสถานศึกษา ฯ เพื่อขอรับพระราชทานป้ายสนองพระราชดำริฯ และเกียรติบัตรขั้นที่ ๑ ในงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
แผนแม่บทของโครงการ อพ.สธ. มีวัตถุประสงค์สำคัญคือ เพื่ออนุรักษ์พืชพรรณและความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ นำพืชที่ได้สำรวจขึ้นทะเบียนรหัสต้นของพืชที่มีอยู่เดิม และหายากใกล้สูญพันธุ์ และจัดทำศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืช รวมทั้งทรัพยากรอื่น ๆ ทั้ง ๓ ฐาน มีแนวทางการดำเนินงานในเรื่องของฐานทรัพยากรท้องถิ่น และดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน มุ่งเน้นสร้างจิตสำนึกให้แก่เยาวชนและนักเรียนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาของประเทศไทย และร่วมบูรณาการกับชุมชนในการจัดทำฐานทรัพยากรท้องถิ่น ทางโครงการ อพ.สธ. จึงเล็งเห็นความสำคัญของโรงเรียนที่มีศักยภาพในการร่วมสนองพระราชดำริงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนและด้านฐานทรัพยากรท้องถิ่น รวมถึงเสริมสร้างสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายระดับต่าง ๆ ในการดำเนินงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากร
การสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าร่วมสนองพระราชดำริ อพ.สธ. ในงานสำรวจและจัดทำฐานทรัพยากรท้องถิ่น
๘.๒.๑ การดำเนินงานอื่น ๆ เพื่อเป็นการสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าร่วมสนอง
พระราชดำริ อพ.สธ. ในงานสำรวจและจัดทำฐานทรัพยากรท้องถิ่น
การดำเนินงาน อพ.สธ. ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ จนถึงปัจจุบันมีหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมสนองพระราชดำริเพิ่มขึ้นมากกว่า ๒๑๑ หน่วยงาน ฐานทรัพยากรท้องถิ่นเป็นสมาชิกมากขึ้นเรื่อย ๆ ยิ่งไปกว่านั้นในแผนแม่บทระยะ ๕ ปีที่ห้า อพ.สธ. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นขอเข้าร่วมสนองพระราชดำริโดยพระราชานุญาตให้เป็นหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริ อพ.สธ. ในปีงบประมาณ ๒๕๕๘ โดยที่ทางกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นนโยบายสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น ซึ่งดำเนินงานอยู่ภายใต้กรอบการสร้างจิตสำนึก กิจกรรมที่ ๘ กิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากร โดยให้มีสมาชิกฐานทรัพยากรท้องถิ่นในอำเภอละหนึ่งตำบล / หนึ่งเทศบาลเป็นอย่างน้อย โดยเริ่มต้นการสำรวจฐานทรัพยากรท้องถิ่นที่มีอยู่จริงว่ามีอะไรอยู่ที่ไหน และเริ่มการดูแลอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนในทรัพยากรท้องถิ่นที่มีอยู่ นำไปสู่การวางแผนพัฒนาตำบลบนพื้นฐานของทรัพยากรที่มีอยู่จริง โดยเริ่มตั้งแต่การสำรวจและการทำฐานข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่นซึ่งประกอบด้วย ๓ ฐานทรัพยากรได้แก่ ทรัพยากรชีวภาพ (สิ่งที่มีชีวิต), ทรัพยากรกายภาพ (สิ่งที่ไม่มีชีวิต) และทรัพยากรวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ด้วยเหตุนี้ทำให้พื้นที่และกิจกรรมดำเนินงานของโครงการฯ กระจายออกไปในภูมิภาคต่าง ๆ จะนำไปสู่การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนบนพื้นฐานของการมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศไทยต่อไปซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถขอรับการประเมินองค์กรเพื่อขอรับพระราชทานป้ายสนองพระราชดำริและเกียรติบัตรงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น
โครงการจัดทำฐานข้อมูลเป็นกิจกรรมที่ดำเนินงาน โดยศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืช อพ.สธ. สวนจิตรลดา ร่วมกับหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริ บันทึกข้อมูลของการสำรวจเก็บรวบรวม การศึกษา ประเมิน การอนุรักษ์ และการใช้ประโยชน์ รวมทั้งงานจัดทำฐานข้อมูลพรรณไม้แห้ง นอกจากนั้นยังรวมถึงฐานข้อมูลทรัพยากรอื่นๆ นอกเหนือจากพันธุกรรมพืช เช่น ฐานข้อมูลของสัตว์ และจุลินทรีย์ การจัดการฐานข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่น ข้อมูลต่าง ๆ จากการทำงานในกิจกรรมที่ ๑-๔ โดยการทำบันทึกลงในระบบฐานข้อมูล เพื่อเป็นฐานข้อมูลและระบบที่เชื่อมต่อถึงกันได้ทั่วประเทศ โดยเชื่อโยงกับฐานข้อมูลทรัพยากรของหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริ อพ.สธ. นำไปสู่การวางแผนพัฒนาพันธุ์พืชและทรัพยากรต่าง ๆ โดยที่ อพ.สธ. เป็นที่ปรึกษา ประสานงาน ร่วมมือ พัฒนาการทาศูนย์ข้อมูลฯ กำหนดรูปแบบในการทำฐานข้อมูล โดยกำหนดเป้าหมายในการดำเนินงานในระยะ ๆ ๕ ปี ให้สอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานตามกรอบแผนแม่บทของ อพ.สธ และจัดทำแผนประจำปีเฉพาะในส่วนของหน่วยของตนให้ชัดเจน พร้อมทั้งวางแผนปฏิบัติงานร่วมกันให้ชัดเจน ผ่านการประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน อพ.สธ. ของหน่วยงานนั้น ๆ
๘.๓ โครงการพัฒนาหลักสูตรและสื่อการสอนรายวิชาพืชพรรณเพื่อชีวิตและรายวิชาสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์มีบทบาทหน้าที่ในการสอน วิจัย และบริการวิชาการแก่ท้องถิ่น และร่วมสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ได้รับพระราชานุญาตให้นำองค์ความรู้ที่บูรณาการมาจาก อพ.สธ. เข้าสู่การเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา โดยเปิดสอนรายวิชาพืชพรรณเพื่อชีวิตและรายวิชาสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนให้แก่นักศึกษาทั่วไปและนักศึกษาคณะครุศาสตร์เป็นวิชาเลือก
รายวิชาพืชพรรณเพื่อชีวิต (Plants for Life) เน้นเนื้อหาในเรื่องความสำคัญและคุณค่าของพืชพรรณต่อชีวิต ความหลากหลายของพืชพรรณ ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการใช้ประโยชน์จากพืชพรรณ อพ.สธ. การอนุรักษ์และการพัฒนาพืชพรรณ การเรียนการสอนมีทั้งภาคบรรยายและบทปฏิบัติการที่เกี่ยวกับเรื่อง เที่ยวไปในป่าใหญ่ เขาสูง ทุ่งกว้าง หนึ่งต้นหลายชีวิต สรรพสิ่งล้วนพันเกี่ยว หนึ่งต้นที่แปรเปลี่ยนกับกาลเวลา ลุยโคลน เดินหาด อาบน้ำทะเลกว้าง ทรวดทรง สีสัน ผิวพรรณแห่งพืชพรรณ เสน่ห์แห่งกลิ่น ความโอชะแห่งรส รูปลักษณ์ที่หลายหลาก กลุ่มและหมวดหมู่ของพืช ชาวนา ชาวไร่ ชาวสวน สาวโรงงานกับผลผลิตจากไร่นาสวน
รายวิชาสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน (School Botanical Garden) เน้นให้นักศึกษาทราบและเข้าใจถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การเรียนรู้ พระราชปรารภ พระราชดำริ และพระราชกระแสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.๙ และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ความเป็นมาของ อพ.สธ. องค์ประกอบของงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน การสร้างและจัดการปัจจัยพื้นฐานในสถานศึกษาให้เป็นปัจจัยแห่งการเรียนรู้ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การใช้ธรรมชาติรอบกายให้เป็นปัจจัยแห่งการเรียนรู้ โดยให้เห็นคุณค่าความหลายหลากในสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน การอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างเบิกบาน จนเกิดเป็นบูรณาการแห่งชีวิต
ทั้งสองรายวิชานี้เปิดให้นักศึกษาได้ลงทะเบียนเรียนเป็นวิชาเลือกและมีคณาจารย์หลายท่านมาช่วยสอน จึงจำเป็นที่จะต้องมีการประชุมและกำหนดแนวทางในการเรียนการสอนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมถึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาหลักสูตรและสื่อการสอนของทั้งสองรายวิชาเป็นระยะ เพื่อนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเข้ารับการอบรมหลักสูตรต่าง ๆ กับทาง อพ.สธ. รวมถึงการศึกษาดูงานตามศูนย์เรียนรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการนับว่าเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างมาก และนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาหลักสูตรและสื่อการสอนได้เป็นอย่างดี
๘.๔ ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มรอ. และการดำเนินงานอื่น ๆ เพื่อเป็นการสนับสนุนตามกรอบแผนแม่บทของ อพ.สธ.
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ดำเนินงานสนองพระราชดำริ อพ.สธ. มาอย่างต่อเนื่อง ตามกรอบการดำเนินงาน ๓ กรอบ ในกิจกรรมต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องกับแผนแม่บทของ อพ.สธ. ที่เน้นฐานทรัพยากร ๓ ฐาน และมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ได้รับอนุญาตให้เป็นศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เพื่อดำเนินงานประสานและสนับสนุนงานตามกรอบแผนแม่บทของ อพ.สธ. ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
หน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริ อพ.สธ. เป็นหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วประเทศที่ดำเนินงานในส่วนที่รับผิดชอบและนำงานมาร่วมสนองพระราชดำริใน อพ.สธ. แบ่งออกเป็น ๑๐ กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มความมั่นคงทางทรัพยากร กลุ่มสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากร กลุ่มส่วนราชการที่เกี่ยวกับทรัพยากร กลุ่มการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากร กลุ่มมหาวิทยาลัยที่ร่วมสนองพระราชดำริ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล กลุ่มนโยบายในเรื่องของทรัพยากร กลุ่มจังหวัดที่ร่วมสนองพระราชดำริ กลุ่มหน่วยงานสนับสนุน และกลุ่มศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ซึ่งทุกหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริมีแนวทางการดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน ตามกรอบแผนแม่บทของ อพ.สธ. และมีการประสานงานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่งผลดีต่อการดำเนินโครงการ อพ.สธ. ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
แผนแม่บทของ อพ.สธ. มีพันธกิจสำคัญคือ อนุรักษ์ทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ นำพืชที่ได้สำรวจขึ้นทะเบียนรหัสต้นของพืชที่มีอยู่เดิมและหายากใกล้สูญพันธุ์ เพื่อปลูกรักษา แล้วศึกษาวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ทางวิทยาการที่จะนำไปสู่การอนุรักษ์และพัฒนาอย่างยั่งยืนสู่เศรษฐกิจพอเพียง และจัดทำศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืช รวมทั้งทรัพยากรอื่น ๆ โดยเชื่องโยงข้อมูลสื่อถึงกันในระบบเดียวกัน มีแนวทางการดำเนินงานในเรื่องของฐานทรัพยากรท้องถิ่น และดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน มุ่งเน้นสร้างจิตสำนึกให้แก่เยาวชนและนักเรียนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาของประเทศไทย และร่วมบูรณาการกับชุมชนในการจัดทำฐานทรัพยากรท้องถิ่น
ทางศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มรอ. จึงมีโครงการอบรมต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการอนุรักษ์ทรัพยากร ดังนี้
ก. งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนและงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น สถานศึกษาและชุมชนในท้องถิ่นเป็นกำลังสำคัญที่มีศักยภาพในการร่วมสนองพระราชดำริในงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนและงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับงานทั้งสองด้านนี้ให้แก่คณะครู อาจารย์ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จะช่วยให้เกิดความเข้าใจในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ข. การจัดสวนถาดและการวาดภาพพรรณไม้ การสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชให้เกิดแก่เยาวชนนั้น มีพระราชดำริให้ฝึกอบรมให้เห็นคุณค่า ประโยชน์ ความงดงาม เกิดความปีติที่จะทำการอนุรักษ์ ซึ่งการจัดสวนถาดและการวาดภาพพรรณไม้เป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมให้เยาวชนได้ใกล้ชิดธรรมชาติ เกิดการเรียนรู้พืชพรรณและสรรพสิ่งโดยรอบ การจัดสวนถาดช่วยในการเรียนรู้ความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งในธรรมชาติโดยจำลองมาเป็นสวนถาด เกิดความเข้าใจธรรมชาติและความพันเกี่ยวกันของสรรพชีวิต สำหรับการวาดภาพพรรณไม้เป็นการเรียนรู้ลักษณะธรรมชาติของพรรณไม้ต่าง ๆ แล้วถ่ายทอดออกมาเป็นผลงานภาพวาด ช่วยให้เกิดความเพลิดเพลินและช่วยสร้างจิตสำนึกที่ดีในการอนุรักษ์
ค. ฐานการเรียนรู้ในพื้นที่มหาวิทยาลัย ด้านชีวภาพ กายภาพ วัฒนธรรมและภูมิปัญญา เช่น พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญา
ง. ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ศึกษาและจัดทำหนังสือทรัพยากรท้องถิ่น วัฒนธรรมและภูมิปัญญาของแต่ละอำเภอในจังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อการอนุรักษ์และเผยแพร่ผลการศึกษาให้แก่ประชาชนทั่วไปได้รับทราบ
- Hits: 711