กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมปกปักทรัพยากร
กิจกรรมนี้จัดอยู่ในกรอบการเรียนรู้ทรัพยากร มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านการพัฒนาและด้านการบริหารจัดการด้านปกปักทรัพยากรของประเทศ
ทางศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มรอ. ได้ดำเนินโครงการในกิจกรรมนี้จำนวน ๑
โครงการ ได้แก่ โครงการปกปักพันธุกรรมพืชในพื้นที่วิทยาลัยน่าน
มีรายละเอียดดังนี้
โครงการสำรวจพันธุกรรมพืช สัตว์ และภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดอุตรดิตถ์
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (โครงการ อพ.สธ.) ดำเนินงานตามกรอบการดำเนินงาน ๓ กรอบ มีกิจกรรม ๘ กิจกรรม ได้แก่ กรอบการเรียนรู้ทรัพยากร คือ กิจกรรมปกปักพันธุกรรมพืช กิจกรรมสำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืช กิจกรรมปลูกรักษาพันธุกรรมพืช กรอบการใช้ประโยชน์ ประกอบด้วย กิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืช กิจกรรมศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืช กิจกรรมวางแผนพัฒนาพันธุ์พืช และกรอบการสร้างจิตสำนึก มีกิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช และกิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช โดยในแผนแม่บทระยะ ๕ ปีที่ห้า (๑ ตุลาคม ๒๕๕๔ ถึง ๓๐ กันยายน ๒๕๕๙) โครงการ อพ.สธ. มุ่งเน้นดำเนินการอนุรักษ์ไม่เพียงเฉพาะเรื่องทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังดำเนินการในฐานทรัพยากร ๓ ฐาน ได้แก่ ฐานทรัพยากรชีวภาพ ฐานทรัพยากรกายภาพ และฐานทรัพยากรวัฒนธรรมและภูมิปัญญา เน้นการขึ้นทะเบียนทรัพยากรท้องถิ่น เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานทางด้านวิชาการ สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากร การเรียนรู้ทรัพยากร โดยประสานงานและดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานและสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในการจัดทำฐานข้อมูลพันธุกรรมพืชและทรัพยากรอื่น ๆ เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ได้สนองพระราชดำริในโครงการ อพ.สธ. ในหลายกิจกรรม โดยเฉพาะกิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ซึ่งได้เปิดสอนรายวิชาพืชพรรณเพื่อชีวิตและรายวิชาสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้ความเข้าใจและเกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช รวมถึงทรัพยากรต่าง ๆ นอกจากนี้ งานฐานทรัพยากรท้องถิ่นยังจัดอยู่ในกิจกรรมนี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นการประสานความร่วมมือกันระหว่างสถานศึกษา โรงเรียน และชุมชน จึงได้ให้นักศึกษาออกสำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ตามหมู่บ้าน ชุมชน ในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยใช้แบบการเก็บข้อมูลตามใบงานการเก็บข้อมูลฐานทรัพยากรท้องถิ่นของโครงการ อพ.สธ. จำนวน ๙ ใบงาน ได้แก่ การเก็บข้อมูลพื้นฐานท้องถิ่น การเก็บข้อมูลการประกอบอาชีพในท้องถิ่น การเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน การเก็บข้อมูลด้านกายภาพของท้องถิ่น การเก็บข้อมูลการใช้ประโยชน์ของพืชในท้องถิ่น การเก็บข้อมูลการใช้ประโยชน์ของสัตว์ในท้องถิ่น การสำรวจเก็บข้อมูลชีวภาพอื่น ๆ การเก็บรวบรวมข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น และการสำรวจรวบรวมข้อมูลแหล่งทรัพยากรและโบราณคดีในท้องถิ่น เพื่อเป็นข้อมูลในเบื้องต้น
พื้นที่ที่เก็บข้อมูลในครั้งนี้
มีจำนวน ๒ หมู่บ้าน ในพื้นที่ ๒ อำเภอ ของจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้แก่
๑. อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จำนวน ๑ หมู่บ้าน ได้แก่ ชุมชนหนองบัว ตำบลท่าอิฐ
๒.
อำเภอตรอน จำนวน ๑ หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่บ้านบ้านแก่ง
ตำบลบ้านแก่ง
ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ในครั้งนี้ ได้จากการสอบถามจากที่ทำการผู้ใหญ่บ้านหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงสอบถามจากบุคคล เช่น ผู้อาวุโสหรือผู้รู้ในท้องถิ่น และสอบถามเก็บข้อมูลในสภาพพื้นที่จริงในท้องถิ่น
วัตถุประสงค์ของโครงการ
๑. เพื่อส่งเสริมการศึกษาวิจัยพืชพื้นเมืองในท้องถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์
และพื้นที่รับผิดชอบในการศึกษาทรัพยากรทางชีวภาพและกายภาพในการเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงานอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
๒. เพื่อสร้างจิตสำนึกให้แก่นักศึกษา
เยาวชน และบุคคลที่สนใจให้มีความรู้ ความเข้าใจถึงความสำคัญ
ประโยชน์ของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชและการนำไปใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
๓. เพื่อสร้างความร่วมมือกับท้องถิ่น
ชุมชน
หมู่บ้านในการสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ทรัพยากรชีวภาพและกายภาพจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
แนวทางในการดำเนินกิจกรรม
๑. สำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลทรัพยากรชีวภาพ
ทรัพยากรกายภาพ และทรัพยากรวัฒนธรรมและภูมิปัญญาในจังหวัดอุตรดิตถ์
๒. ศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพรรณไม้ที่สำรวจ
๓. เก็บตัวอย่างพืชอัดแห้ง
กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากร
กิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืชจัดอยู่ในกรอบการใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานศึกษาวิจัยใน อพ.สธ.ทั้งในด้านการพัฒนาและการบริหารจัดการให้การดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกันและเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อกัน
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ได้ดำเนินงานที่เกี่ยวกับงานวิจัยด้านต่างๆ ซึ่งจัดอยู่ในกิจกรรมนี้ จำนวน ๓ โครงการ ได้แก่โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพและกายภาพโครงการศึกษาจำแนกพันธุ์พืชพื้นเมืองและพืชสมุนไพรในท้องถิ่นในรูปแบบลายพิมพ์ดีเอ็นเอและโครงการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสมุนไพรเพื่อการอนุรักษ์ มีรายละเอียดดังนี้
โครงการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสมุนไพรเพื่อการอนุรักษ์
๒.๓.๑ ผลของ NAA และ Kinetin ต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้ากล้วยไม้เอื้องผึ้งใน สภาพปลอดเชื้อ
ที่มาและความสำคัญ
ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกดอกกล้วยไม้เขตร้อนมากเป็นอันดับ
๑ ของโลกหากพิจารณาสัดส่วนการส่งออกกล้วยไม้พบว่า ประมาณร้อยละ ๘๐
เป็นกล้วยไม้ตัดดอก โดยมีกล้วยไม้สกุลหวาย (Dendrobium) มากเป็นอันดับแรก รองลงมาเป็นสกุลอะแรนด้า อะแรคนิส ออนซิเดียม และแวนด้า
เป็นต้น การส่งออกกล้วยไม้กระถางส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ฟาแลนนอปซิส (Phalaenopsis)
และซิมบิเดียม (Cymbidium) แวนด้า และอะแรนด้า
(ครรชิต, ๒๕๔๑) กล้วยไม้เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ในวงศ์ Orchidaceae
เป็นไม้ตัดดอกยอดนิยม เนื่องจากมีลักษณะดอกและสีสันลวดลายสวยงาม
เป็นไม้ตัดดอกที่มีอายุการใช้งานได้นาน
กล้วยไม้เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญของไทย เพราะเป็นไม้ส่งออกขายต่างประเทศทำรายได้เข้าประเทศปีละหลายร้อยล้านบาท
มีการปลูกเลี้ยงอย่างครบวงจร ตั้งแต่การผสมเกสร เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
เลี้ยงลูกกล้วยไม้ เลี้ยงต้นกล้วยไม้ จนกระทั่งให้ดอก
ตัดดอกบรรจุหีบห่อและส่งออกเอง ในปัจจุบันมีกล้วยไม้ไทยที่นักพฤกษศาสตร์สำรวจพบแล้ว
๑๗๖ สกุล รวมกว่า ๑,๒๐๐ ชนิด
แต่สถานภาพของกล้วยไม้ป่าปัจจุบันลดลงอย่างต่อเนื่อง จึงอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้ไว้กว่า
๔๐๐ ชนิด โดยนำกล้วยไม้ที่เสี่ยงต่อการถูกคุกคามและใกล้สูญพันธุ์มาขยายพันธุ์ อาทิ
ฟ้ามุ่ย รองเท้านารี เอื้องแซะหอม เอื้องผึ้ง เอื้องคำ และช้างแดง (ปิยเกษตร, ๒๕๕๖)
กล้วยไม้สกุลหวาย (Dendrobium) เป็นกล้วยไม้สกุลใหญ่ที่สุด
มีการแพร่กระจายพันธุ์ออกไปในบริเวณกว้างทั้งในทวีปเอเชีย และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก
นักพฤกษศาสตร์ได้รวบรวมกล้วยไม้ชนิดนี้ที่ค้นพบแล้ว ได้ประมาณ ๑,๐๐๐ ชนิดพันธุ์ ในบรรดากล้วยไม้หลากหลายร้อยพันธุ์ชนิด เอื้องผึ้ง เป็น ๑
ใน ๑๕๐
ชนิดของกลุ่มกล้วยไม้สกุลหวายในประเทศไทยที่มีความผูกพันกับท้องถิ่นทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมาช้านาน
แต่ปัญหาการลักลอบนำกล้วยไม้ป่าออกจากแหล่งตามธรรมชาติเพื่อจำหน่าย
หรือทำการค้าทั้งในระดับท้องถิ่นภายในประเทศ
และรวบรวมโดยพ่อค้าเพื่อการลักลอบส่งออกไปยังต่างประเทศนั้น ถือได้ว่า
เป็นการลดจำนวนประชากรของกล้วยไม้ในธรรมชาติโดยตรง จนถึงปัจจุบันนี้การค้ากล้วยไม้ของประเทศไทยยังพบว่า
เป็นปริมาณมากจนน่าตกใจ
ถ้าหากเปรียบเทียบกับอัตราการเจริญเติบโตโดยธรรมชาติของกล้วยไม้ที่เป็นไปค่อนข้างช้ามาก
และข้อจำกัดเฉพาะแหล่งที่ขึ้นอาศัยได้แล้ว อาจกล่าวได้ว่า
บางชนิดกำลังจะสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้นี้ ปัจจุบันจึงมีการขยายพันธุ์กล้วยไม้ด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเป็นการขยายพันธุ์ที่นิยมกันมาก
เพราะได้ต้นที่ลักษณะเหมือนเดิมเป็นปริมาณมากในเวลารวดเร็ว และปลอดโรค (สุภาพ, ๒๕๕๙) ข้อดีของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อคือได้ผลผลิตปริมาณมากและคุณภาพสม่ำเสมอกัน
แต่ข้อเสียคือต้องใช้ต้นทุนสูงและต้องมีความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติ
มิฉะนั้นอาจจะขาดทุนได้ (สลิลและนฤมล, ๒๕๕๗)
ดังนั้น จึงควรทำการทดลองและขยายพันธุ์กล้วยไม้เอื้องผึ้งโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
เพื่อเป็นอีกวิธีหนึ่งในการขยายพันธุ์กล้วยไม้
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาผลของสารควบคุมการเจริญเติบโต ๒ ชนิด คือ NAA และ Kinetin ที่ความเข้มข้นต่าง
ๆ ต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้ากล้วยไม้เอื้องผึ้ง
๒.๓.๒
เทคนิคการฟอกฆ่าเชื้อทุเรียนพันธุ์หลินลับแล ในอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
ที่มาและความสำคัญ
ทุเรียน
ถือเป็นผลไม้ที่ถูกยกย่องให้เป็นราชาแห่งผลไม้ของประเทศไทย
ด้วยลักษณะของผลที่เป็นหนามคล้ายมงกุฎของพระราชา และความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
ทั้งรูปร่างที่โดดเด่น เนื้อทุเรียนที่เหลืองอร่าม
รวมถึงรสชาติและกลิ่นที่ดึงดูดให้หลายคนติดใจ และเป็นผลไม้เศรษฐกิจแห่งเมืองลับแล
จังหวัดอุตรดิตถ์ ลับแลเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดอุตรดิตถ์
ถือเป็นเมืองล้านนาโบราณที่เป็นแหล่งปลูกทุเรียน (ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี, ๒๕๕๘)
ทุเรียนพันธุ์หลินลับแล มีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์
คือมีผลเล็ก น้ำหนัก ๑.๑-๑.๘ กิโลกรัม ผลทรงกระบอก ฐานเว้าลึก ปลายผลตัด ก้านผลมีขนาดเล็ก
หนามผลโค้งแหลมคม เปลือกผลสีเขียวอมเหลือง เนื้อละเอียดมาก สีเหลืองอ่อน รสชาติหวานมัน
กลิ่นอ่อน โดยธรรมชาติออกผลในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนสิงหาคมของทุกปี (นฤมล,
๒๕๓๗) ราคาของทุเรียนหลินลับแลจากสถิติเมื่อปีก่อนหน้านี้สามารถขายได้ถึงกิโลกรัมละ
๘๐๐-๑,๐๐๐ บาท
เป็นทุเรียนของฝากที่เกษตรกรสามารถปลูกแล้วได้ผลดีเฉพาะในเขตอุตรดิตถ์เท่านั้น หากเอาไปปลูกที่อื่นส่วนมากมักมีเฉพาะต้น
แต่ไม่มีผลผลิตออกมา หากนำไปขายในห้างสรรพสินค้าราคาจะไม่ต่ำกว่าลูกละ ๑,๘๐๐ บาท ซึ่งทำรายได้ให้แก่ชาวสวนในจังหวัดอุตรดิตถ์ไม่ต่ำกว่า ๑๕๐ ล้านบาทต่อปี
ปัจจุบันนอกจากขายในประเทศแล้ว ยังมีพ่อค้ามารับซื้อเพื่อไปส่งตลาดต่างประเทศ โดยราคาที่มารับซื้อมักแพงกว่าที่ซื้อขายในประเทศ
๕-๑๐ บาท (ตามมาตรฐานของทุเรียน) โดยเกณฑ์ที่คัดคือ เอาพูและน้ำหนัก
ที่สำคัญคือ ต้องแก่ ถ้าเป็นการส่งเข้าจีนต้องคัดน้ำหนักให้ได้ ๓-๔ กิโลกรัม/ลูก ความแก่ของทุเรียนประมาณ
๗๐-๘๐ เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าเป็นการส่งไปกัมพูชา ทุเรียนต้องมี
๔-๕ พูเต็ม น้ำหนัก ๔-๕ กิโลกรัม/ลูก
ความแก่ประมาณ ๙๐ เปอร์เซ็นต์ แต่ทั้งนี้ทุเรียนส่งออกจากลับแลมักเป็นพันธุ์หมอนทองทั้งหมด
ส่วนสายพันธุ์พื้นเมืองอย่างหลงลับแลและหลินลับแลนั้น
แค่ขายในประเทศก็ยังมีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคด้วยซ้ำไป
สาเหตุที่ทำให้ทุเรียนพันธุ์หลินลับแลมีราคาค่อนข้างสูง
เป็นเพราะมีรสชาติที่อร่อยไม่เหมือนพันธุ์อื่น อีกทั้งยังมีคุณภาพดี
จึงเป็นที่ต้องการของท้องตลาด ซึ่งไม่สมดุลกับปริมาณของทุเรียนที่ผลิตได้ในแต่ละปี
เพราะทุเรียนสายพันธุ์นี้เป็นผลไม้ที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเสียบยอดกับต้นทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองในพื้นที่การเพาะเมล็ด
การตอน การติดตา และการทาบกิ่ง ซึ่งทำได้ยากและใช้เวลานานกว่า ๖-๘ ปี (เทคโนโลยีชาวบ้าน, ๒๕๕๘) การผลิตมีปัญหาการขาดแคลนต้นพันธุ์ทุเรียนหลินลับแลทำให้ไม่สามารถขยายการส่งออก
ทั้งที่ตลาดมีความต้องการ และมีราคาสูง การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะทําใหสามารถผลิตได้ในปริมาณมาก
การขยายพันธุดวยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเปนการนำส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชที่สะอาดปราศจากเชื้อจุลินทรียมาเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์และมีการควบคุมอุณหภูมิ
ความชื้น และแสงสว่าง ในกระบวนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ขั้นตอนที่สําคัญคือการฆ่าเชื้อโรค ซึ่งสามารถใช้สารเคมีชนิดต่าง ๆ ในความเข้มข้นที่เหมาะสม
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเป็นวิธีการขยายพันธุ์พืช ด้วยการนำชิ้นส่วนพืช
(ที่ยังมีชีวิต) เช่น ลำต้น ยอด ตาข้าง เมล็ด ดอก ช่อดอก ใบ ก้านใบ อับเรณู
มาเพาะเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์และเลี้ยงในสภาพที่เหมาะสม
ชิ้นส่วนนั้นสามารถเจริญเติบโตและพัฒนาเป็นพืชที่สมบูรณ์มีทั้งส่วนใบ ลำต้น และราก
ที่สามารถออกปลูกในสภาพธรรมชาติได้ การนำเอาส่วนใดของพืชมาเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์
ซึ่งประกอบด้วยเกลือ แร่ธาตุ น้ำตาล วิตามิน และฮอร์โมนพืชในสภาพปลอดเชื้อ (aseptic
condition) จากเชื้อราและแบคทีเรีย และในสภาพแวดล้อมที่ควบคุม เช่น
อุณหภูมิ ความชื้น และแสงสว่าง (บรรจง, ๒๕๔๑)
ปัญหาของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชคือ
การทำให้ชิ้นส่วนพืชที่นำมาเพาะเลี้ยงมีความปราศจากเชื้อจุลินทรีย์
เนื่องจากในสภาพธรรมชาติแล้ว ส่วนต่าง ๆ ของพืชมีเชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ
ติดอยู่ไม่ว่าจะเป็นเชื้อราหรือแบคทีเรียอันเป็นตัวการสำคัญของการปนเปื้อน (contamination)
ในอาหารเพาะเลี้ยงเพราะเชื้อจุลินทรีย์เหล่านั้นสามารถเจริญเติบโตได้ดีในอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชและทำให้อาหารเน่าเสียอย่างรวดเร็วส่งผลทำให้ชิ้นส่วนของพืชเน่าไปด้วยและมีสารเคมีหลายชนิดและวิธีต่าง
ๆ
ที่ใช้ในการทำความสะอาดให้ชิ้นส่วนพืชมีความปลอดเชื้อซึ่งสามารถเลือกใช้ให้เกิดความเหมาะสมกับเนื้อเยื่อพืชและประสิทธิภาพที่จะฆ่าเชื้อจุลินทรีย์
(ธนิกานต์และพิชัย, ๒๕๕๕)
ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้จึงศึกษาเทคนิคการฟอกฆ่าเชื้อของทุเรียนพันธุ์หลินลับแล
เพื่อเป็นพื้นฐานของการขยายพันธุ์ต้นทุเรียนหลินลับแลโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อต่อไป
วัตถุประสงค์
๑.
เพื่อตรวจสอบเปอร์เซ็นต์การปลอดเชื้อและเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตของตาข้างทุเรียนพื้นเมืองพันธุ์หลินลับแล
ในอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ในสภาพปลอดเชื้อ
๒. เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารฟอกฆ่าเชื้อและระยะเวลาการฟอกฆ่าเชื้อ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
๑. ทราบถึงเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตและเปอร์เซ็นต์การปนเปื้อนของตาข้างทุเรียนพื้นเมืองพันธุ์หลินลับแล
ในอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
๒. ทราบถึงฤทธิ์ของสารเคมีและระยะเวลาต่าง
ๆ ในการฟอกฆ่าเชื้อ
๓. เป็นข้อมูลพื้นฐานในการขยายพันธุ์ทุเรียนพันธุ์หลินลับแลโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
๒.๓.๓ เทคนิคการฟอกฆ่าเชื้อทุเรียนพันธุ์หลงลับแล
ในอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
ที่มาและความสำคัญ
ประเทศไทยเป็นประเทศที่อุดมไปด้วยทรัพยากรการเกษตร
โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีผลไม้ที่เต็มไปด้วยคุณภาพ ซึ่งเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคอย่างยิ่ง
ทุเรียนยังคงเป็นพืชเศรษฐกิจที่น่าสนใจเพราะทุเรียนนั้นเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค
ซึ่งทำให้ยังคงมีเกษตรกรผู้ที่ต้องการต้นกล้าของทุเรียนพันธุ์ดีนั้นยังมีอยู่อีกเป็นจำนวนมาก
โดยทุเรียนภายในประเทศที่นิยมปลูกมีอยู่หลากหลายพันธุ์ การขยายพันธุ์ทุเรียนมีหลายวิธี
เช่น การเพาะเมล็ด การติดตา การทาบกิ่ง และการเสียบยอด ซึ่งเป็นวิธีการขยายพันธุ์ทุเรียนโดยใช้ต้นตอเป็นพันธุ์พื้นเมือง
ทำได้สะดวกและได้จำนวนมาก ได้ผลดีกว่าวิธีอื่น (ทีมรักบ้านเกิด, ๒๕๕๖)
ทุเรียนพันธุ์หลงลับแลถือเป็นพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิมของอุตรดิตถ์
ต้นกำเนิดมาจากทุเรียนป่าที่ชาวบ้านนำมาเพาะปลูก แล้วพัฒนาสายพันธุ์กันมาหลายปีจนมีเอกลักษณ์และมีการปรับปรุงสายพันธุ์ด้วยตัวของมันเอง
พันธุ์หลงลับแลนั้นเดิมอยู่ที่ม่อนน้ำจำ หมู่ ๗ บ้านผามูบ ตำบลแม่พูล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่นำทุเรียนป่าไม่ทราบพันธุ์มาปลูกจนต้นโตติดผลและมีคุณสมบัติเด่นคือ
เนื้อสุกเต็มพู เมล็ดลีบ เนื้อสีเข้มไม่เละแต่เหนียว กลิ่นไม่แรง เปลือกบาง
เนื้อทุเรียนละเอียดนุ่ม หอมมัน ไม่หวานเกินไป
เป็นทุเรียนรสชาติดีที่หารับประทานยาก เป็นทุเรียนของฝากที่เกษตรกรสามารถปลูกแล้วได้ผลดี
เฉพาะในเขตอุตรดิตถ์เท่านั้นหากเอาไปปลูกที่อื่นส่วนมากมักมีเฉพาะต้น แต่ไม่มีผลผลิตออกมา
ปลูกได้ผลผลิตดีคุณภาพดีแค่ในเขตอำเภอลับแลเท่านั้นกลายเป็นทุเรียนที่ได้รางวัลยอดเยี่ยมจากการประกวดของกรมวิชาการเกษตรเมื่อปี
พ.ศ.๒๕๒๐ (พลังเกษตร, ๒๕๕๘)
ชาวสวนทุเรียนของอำเภอลับแล
ส่วนมากนิยมปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทองเพื่อการส่งออกไปยังประเทศจีน-เวียดนาม
ส่วนทุเรียนพันธุ์หลงลับแล-หลินลับแล
ที่สร้างชื่อเสียงให้แก่อุตรดิตถ์นั้นจะเป็นทุเรียนที่นิยมบริโภคกันภายในประเทศ
แต่ปัจจุบันการผลิตจำนวนต้นของทุเรียนพันธุ์หลงลับแลมีปริมาณน้อยจึงไม่พอต่อการขายจึงมีการศึกษาการฟอกฆ่าเชื้อเพื่อนำมาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อต่อไป
ราคาของทุเรียนพันธุ์หลงลับแลอยู่ที่กิโลกรัมละ ๓๐๐ บาท
ซึ่งต้นหนึ่งก็ขายได้ประมาณหมื่นกว่าบาททีเดียว ทุเรียนพันธุ์หลงลับแลมีเอกลักษณ์เรื่องพื้นที่ปลูกบนภูเขาสูง
เก็บเกี่ยวและขนส่งลำบาก โดยจังหวัดส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพผลผลิต
คาดว่าจะมีรายได้จากการจำหน่ายทุเรียนกว่า ๒,๐๐๐ ล้านบาท (ภูมิภาค.ประชาธุรกิจ, ๒๕๕๘)
การเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชด้วยการนำชิ้นส่วนพืช
(ที่ยังมีชีวิต) เช่น ลำต้น ยอด ตาข้าง เมล็ด ดอก ช่อดอก ใบ ก้านใบ อับเรณู มาเพาะเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์และเลี้ยงในสภาพที่เหมาะสม
ชิ้นส่วนนั้นสามารถเจริญเติบโตและพัฒนาเป็นพืชที่สมบูรณ์มีทั้งส่วนใบ ลำต้น และราก
ที่สามารถออกปลูกในสภาพธรรมชาติได้ การนำเอาส่วนใดของพืชมาเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์
ซึ่งประกอบด้วยเกลือ แร่ธาตุ น้ำตาล วิตามิน และฮอร์โมนพืชในสภาพปลอดเชื้อ (aseptic
condition) จากเชื้อราและแบคทีเรีย และในสภาพแวดล้อมที่ควบคุม เช่น
อุณหภูมิ ความชื้น และแสงสว่าง (เทคนิคการเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช,
๒๕๕๖)
ปัญหาของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชคือ
การทำให้ชิ้นส่วนพืชที่นำมาเพาะเลี้ยงมีความปราศจากเชื้อจุลินทรีย์
เนื่องจากในสภาพธรรมชาติแล้ว ส่วนต่าง ๆ ของพืชมีเชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ ติดอยู่ไม่ว่าจะเป็นเชื้อราหรือแบคทีเรียอันเป็นตัวการสำคัญของการปนเปื้อน
(contamination)
ในอาหารเพาะเลี้ยง
เพราะเชื้อจุลินทรีย์เหล่านั้นสามารถเจริญเติบโตได้ดีในอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชและทำให้อาหารเน่าเสียอย่างรวดเร็วส่งผลทำให้ชิ้นส่วนของพืชเน่าไปด้วย
และมีสารเคมีหลายชนิดและวิธีต่าง ๆ
ที่ใช้ในการทำความสะอาดให้ชิ้นส่วนพืชมีความปลอดเชื้อ
ซึ่งสามารถเลือกใช้ให้เกิดความเหมาะสมกับเนื้อเยื่อพืชและประสิทธิภาพที่จะฆ่าเชื้อจุลินทรีย์
(ธนิกานต์และพิชัย, ๒๕๕๕)
ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้จึงศึกษาเทคนิคการฟอกฆ่าเชื้อของทุเรียนพันธุ์หลงลับแล
เพื่อเป็นพื้นฐานของการขยายพันธุ์ต้นทุเรียนหลินลับแลโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อต่อไป
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อตรวจสอบเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตและเปอร์เซ็นต์การปลอดเชื้อของตาข้างทุเรียนพื้นเมืองพันธุ์หลงลับแล
ในอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ในสภาพปลอดเชื้อ
๒.
เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของโซเดียมไฮโปคลอไรต์และซิลเวอร์ไนเทรตในการฟอกฆ่าเชื้อและระยะเวลาการฟอกฆ่าเชื้อ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
๑. ทราบถึงเทคนิคการฟอกฆ่าเชื้อของตาข้างทุเรียนพื้นเมืองพันธุ์หลงลับแลให้ปลอดเชื้อ
๒. ทราบถึงเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตและเปอร์เซ็นต์การปลอดเชื้อของตาข้างทุเรียนพื้นเมืองหลงลับแลและที่ผ่านการฆ่าเชื้อจากสารเคมีและระยะเวลาต่าง
ๆ
๓. เป็นข้อมูลพื้นฐานในการขยายพันธุ์ทุเรียนพันธุ์หลงลับแลโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกดอกกล้วยไม้เขตร้อนมากเป็นอันดับ ๑ ของโลกหากพิจารณาสัดส่วนการส่งออกกล้วยไม้พบว่า ประมาณร้อยละ ๘๐ เป็นกล้วยไม้ตัดดอก โดยมีกล้วยไม้สกุลหวาย (Dendrobium) มากเป็นอันดับแรก รองลงมาเป็นสกุลอะแรนด้า อะแรคนิส ออนซิเดียม และแวนด้า เป็นต้น การส่งออกกล้วยไม้กระถางส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ฟาแลนนอปซิส (Phalaenopsis) และซิมบิเดียม (Cymbidium) แวนด้า และอะแรนด้า (ครรชิต, ๒๕๔๑) กล้วยไม้เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ในวงศ์ Orchidaceae เป็นไม้ตัดดอกยอดนิยม เนื่องจากมีลักษณะดอกและสีสันลวดลายสวยงาม เป็นไม้ตัดดอกที่มีอายุการใช้งานได้นาน กล้วยไม้เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญของไทย เพราะเป็นไม้ส่งออกขายต่างประเทศทำรายได้เข้าประเทศปีละหลายร้อยล้านบาท มีการปลูกเลี้ยงอย่างครบวงจร ตั้งแต่การผสมเกสร เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เลี้ยงลูกกล้วยไม้ เลี้ยงต้นกล้วยไม้ จนกระทั่งให้ดอก ตัดดอกบรรจุหีบห่อและส่งออกเอง ในปัจจุบันมีกล้วยไม้ไทยที่นักพฤกษศาสตร์สำรวจพบแล้ว ๑๗๖ สกุล รวมกว่า ๑,๒๐๐ ชนิด แต่สถานภาพของกล้วยไม้ป่าปัจจุบันลดลงอย่างต่อเนื่อง จึงอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้ไว้กว่า ๔๐๐ ชนิด โดยนำกล้วยไม้ที่เสี่ยงต่อการถูกคุกคามและใกล้สูญพันธุ์มาขยายพันธุ์ อาทิ ฟ้ามุ่ย รองเท้านารี เอื้องแซะหอม เอื้องผึ้ง เอื้องคำ และช้างแดง (ปิยเกษตร, ๒๕๕๖) กล้วยไม้สกุลหวาย (Dendrobium) เป็นกล้วยไม้สกุลใหญ่ที่สุด มีการแพร่กระจายพันธุ์ออกไปในบริเวณกว้างทั้งในทวีปเอเชีย และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก นักพฤกษศาสตร์ได้รวบรวมกล้วยไม้ชนิดนี้ที่ค้นพบแล้ว ได้ประมาณ ๑,๐๐๐ ชนิดพันธุ์ ในบรรดากล้วยไม้หลากหลายร้อยพันธุ์ชนิด เอื้องผึ้ง เป็น ๑ ใน ๑๕๐ ชนิดของกลุ่มกล้วยไม้สกุลหวายในประเทศไทยที่มีความผูกพันกับท้องถิ่นทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมาช้านาน แต่ปัญหาการลักลอบนำกล้วยไม้ป่าออกจากแหล่งตามธรรมชาติเพื่อจำหน่าย หรือทำการค้าทั้งในระดับท้องถิ่นภายในประเทศ และรวบรวมโดยพ่อค้าเพื่อการลักลอบส่งออกไปยังต่างประเทศนั้น ถือได้ว่า เป็นการลดจำนวนประชากรของกล้วยไม้ในธรรมชาติโดยตรง จนถึงปัจจุบันนี้การค้ากล้วยไม้ของประเทศไทยยังพบว่า เป็นปริมาณมากจนน่าตกใจ ถ้าหากเปรียบเทียบกับอัตราการเจริญเติบโตโดยธรรมชาติของกล้วยไม้ที่เป็นไปค่อนข้างช้ามาก และข้อจำกัดเฉพาะแหล่งที่ขึ้นอาศัยได้แล้ว อาจกล่าวได้ว่า บางชนิดกำลังจะสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้นี้ ปัจจุบันจึงมีการขยายพันธุ์กล้วยไม้ด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเป็นการขยายพันธุ์ที่นิยมกันมาก เพราะได้ต้นที่ลักษณะเหมือนเดิมเป็นปริมาณมากในเวลารวดเร็ว และปลอดโรค (สุภาพ, ๒๕๕๙) ข้อดีของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อคือได้ผลผลิตปริมาณมากและคุณภาพสม่ำเสมอกัน แต่ข้อเสียคือต้องใช้ต้นทุนสูงและต้องมีความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติ มิฉะนั้นอาจจะขาดทุนได้ (สลิลและนฤมล, ๒๕๕๗)
ดังนั้น จึงควรทำการทดลองและขยายพันธุ์กล้วยไม้เอื้องผึ้งโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
เพื่อเป็นอีกวิธีหนึ่งในการขยายพันธุ์กล้วยไม้
วัตถุประสงค์
๒.๓.๒ เทคนิคการฟอกฆ่าเชื้อทุเรียนพันธุ์หลินลับแล ในอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
ที่มาและความสำคัญ
ทุเรียน
ถือเป็นผลไม้ที่ถูกยกย่องให้เป็นราชาแห่งผลไม้ของประเทศไทย
ด้วยลักษณะของผลที่เป็นหนามคล้ายมงกุฎของพระราชา และความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
ทั้งรูปร่างที่โดดเด่น เนื้อทุเรียนที่เหลืองอร่าม
รวมถึงรสชาติและกลิ่นที่ดึงดูดให้หลายคนติดใจ และเป็นผลไม้เศรษฐกิจแห่งเมืองลับแล
จังหวัดอุตรดิตถ์ ลับแลเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดอุตรดิตถ์
ถือเป็นเมืองล้านนาโบราณที่เป็นแหล่งปลูกทุเรียน (ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี, ๒๕๕๘)
ทุเรียนพันธุ์หลินลับแล มีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์
คือมีผลเล็ก น้ำหนัก ๑.๑-๑.๘ กิโลกรัม ผลทรงกระบอก ฐานเว้าลึก ปลายผลตัด ก้านผลมีขนาดเล็ก
หนามผลโค้งแหลมคม เปลือกผลสีเขียวอมเหลือง เนื้อละเอียดมาก สีเหลืองอ่อน รสชาติหวานมัน
กลิ่นอ่อน โดยธรรมชาติออกผลในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนสิงหาคมของทุกปี (นฤมล,
๒๕๓๗) ราคาของทุเรียนหลินลับแลจากสถิติเมื่อปีก่อนหน้านี้สามารถขายได้ถึงกิโลกรัมละ
๘๐๐-๑,๐๐๐ บาท
เป็นทุเรียนของฝากที่เกษตรกรสามารถปลูกแล้วได้ผลดีเฉพาะในเขตอุตรดิตถ์เท่านั้น หากเอาไปปลูกที่อื่นส่วนมากมักมีเฉพาะต้น
แต่ไม่มีผลผลิตออกมา หากนำไปขายในห้างสรรพสินค้าราคาจะไม่ต่ำกว่าลูกละ ๑,๘๐๐ บาท ซึ่งทำรายได้ให้แก่ชาวสวนในจังหวัดอุตรดิตถ์ไม่ต่ำกว่า ๑๕๐ ล้านบาทต่อปี
ปัจจุบันนอกจากขายในประเทศแล้ว ยังมีพ่อค้ามารับซื้อเพื่อไปส่งตลาดต่างประเทศ โดยราคาที่มารับซื้อมักแพงกว่าที่ซื้อขายในประเทศ
๕-๑๐ บาท (ตามมาตรฐานของทุเรียน) โดยเกณฑ์ที่คัดคือ เอาพูและน้ำหนัก
ที่สำคัญคือ ต้องแก่ ถ้าเป็นการส่งเข้าจีนต้องคัดน้ำหนักให้ได้ ๓-๔ กิโลกรัม/ลูก ความแก่ของทุเรียนประมาณ
๗๐-๘๐ เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าเป็นการส่งไปกัมพูชา ทุเรียนต้องมี
๔-๕ พูเต็ม น้ำหนัก ๔-๕ กิโลกรัม/ลูก
ความแก่ประมาณ ๙๐ เปอร์เซ็นต์ แต่ทั้งนี้ทุเรียนส่งออกจากลับแลมักเป็นพันธุ์หมอนทองทั้งหมด
ส่วนสายพันธุ์พื้นเมืองอย่างหลงลับแลและหลินลับแลนั้น
แค่ขายในประเทศก็ยังมีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคด้วยซ้ำไป
สาเหตุที่ทำให้ทุเรียนพันธุ์หลินลับแลมีราคาค่อนข้างสูง
เป็นเพราะมีรสชาติที่อร่อยไม่เหมือนพันธุ์อื่น อีกทั้งยังมีคุณภาพดี
จึงเป็นที่ต้องการของท้องตลาด ซึ่งไม่สมดุลกับปริมาณของทุเรียนที่ผลิตได้ในแต่ละปี
เพราะทุเรียนสายพันธุ์นี้เป็นผลไม้ที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเสียบยอดกับต้นทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองในพื้นที่การเพาะเมล็ด
การตอน การติดตา และการทาบกิ่ง ซึ่งทำได้ยากและใช้เวลานานกว่า ๖-๘ ปี (เทคโนโลยีชาวบ้าน, ๒๕๕๘) การผลิตมีปัญหาการขาดแคลนต้นพันธุ์ทุเรียนหลินลับแลทำให้ไม่สามารถขยายการส่งออก
ทั้งที่ตลาดมีความต้องการ และมีราคาสูง การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะทําใหสามารถผลิตได้ในปริมาณมาก
การขยายพันธุดวยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเปนการนำส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชที่สะอาดปราศจากเชื้อจุลินทรียมาเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์และมีการควบคุมอุณหภูมิ
ความชื้น และแสงสว่าง ในกระบวนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ขั้นตอนที่สําคัญคือการฆ่าเชื้อโรค ซึ่งสามารถใช้สารเคมีชนิดต่าง ๆ ในความเข้มข้นที่เหมาะสม
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเป็นวิธีการขยายพันธุ์พืช ด้วยการนำชิ้นส่วนพืช
(ที่ยังมีชีวิต) เช่น ลำต้น ยอด ตาข้าง เมล็ด ดอก ช่อดอก ใบ ก้านใบ อับเรณู
มาเพาะเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์และเลี้ยงในสภาพที่เหมาะสม
ชิ้นส่วนนั้นสามารถเจริญเติบโตและพัฒนาเป็นพืชที่สมบูรณ์มีทั้งส่วนใบ ลำต้น และราก
ที่สามารถออกปลูกในสภาพธรรมชาติได้ การนำเอาส่วนใดของพืชมาเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์
ซึ่งประกอบด้วยเกลือ แร่ธาตุ น้ำตาล วิตามิน และฮอร์โมนพืชในสภาพปลอดเชื้อ (aseptic
condition) จากเชื้อราและแบคทีเรีย และในสภาพแวดล้อมที่ควบคุม เช่น
อุณหภูมิ ความชื้น และแสงสว่าง (บรรจง, ๒๕๔๑)
ปัญหาของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชคือ
การทำให้ชิ้นส่วนพืชที่นำมาเพาะเลี้ยงมีความปราศจากเชื้อจุลินทรีย์
เนื่องจากในสภาพธรรมชาติแล้ว ส่วนต่าง ๆ ของพืชมีเชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ
ติดอยู่ไม่ว่าจะเป็นเชื้อราหรือแบคทีเรียอันเป็นตัวการสำคัญของการปนเปื้อน (contamination)
ในอาหารเพาะเลี้ยงเพราะเชื้อจุลินทรีย์เหล่านั้นสามารถเจริญเติบโตได้ดีในอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชและทำให้อาหารเน่าเสียอย่างรวดเร็วส่งผลทำให้ชิ้นส่วนของพืชเน่าไปด้วยและมีสารเคมีหลายชนิดและวิธีต่าง
ๆ
ที่ใช้ในการทำความสะอาดให้ชิ้นส่วนพืชมีความปลอดเชื้อซึ่งสามารถเลือกใช้ให้เกิดความเหมาะสมกับเนื้อเยื่อพืชและประสิทธิภาพที่จะฆ่าเชื้อจุลินทรีย์
(ธนิกานต์และพิชัย, ๒๕๕๕)
ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้จึงศึกษาเทคนิคการฟอกฆ่าเชื้อของทุเรียนพันธุ์หลินลับแล
เพื่อเป็นพื้นฐานของการขยายพันธุ์ต้นทุเรียนหลินลับแลโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อต่อไป
วัตถุประสงค์
๑.
เพื่อตรวจสอบเปอร์เซ็นต์การปลอดเชื้อและเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตของตาข้างทุเรียนพื้นเมืองพันธุ์หลินลับแล
ในอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ในสภาพปลอดเชื้อ
๒. เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารฟอกฆ่าเชื้อและระยะเวลาการฟอกฆ่าเชื้อ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
๑. ทราบถึงเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตและเปอร์เซ็นต์การปนเปื้อนของตาข้างทุเรียนพื้นเมืองพันธุ์หลินลับแล
ในอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
๒. ทราบถึงฤทธิ์ของสารเคมีและระยะเวลาต่าง
ๆ ในการฟอกฆ่าเชื้อ
๓. เป็นข้อมูลพื้นฐานในการขยายพันธุ์ทุเรียนพันธุ์หลินลับแลโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
ทุเรียน ถือเป็นผลไม้ที่ถูกยกย่องให้เป็นราชาแห่งผลไม้ของประเทศไทย ด้วยลักษณะของผลที่เป็นหนามคล้ายมงกุฎของพระราชา และความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งรูปร่างที่โดดเด่น เนื้อทุเรียนที่เหลืองอร่าม รวมถึงรสชาติและกลิ่นที่ดึงดูดให้หลายคนติดใจ และเป็นผลไม้เศรษฐกิจแห่งเมืองลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ลับแลเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดอุตรดิตถ์ ถือเป็นเมืองล้านนาโบราณที่เป็นแหล่งปลูกทุเรียน (ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี, ๒๕๕๘)
ทุเรียนพันธุ์หลินลับแล มีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ คือมีผลเล็ก น้ำหนัก ๑.๑-๑.๘ กิโลกรัม ผลทรงกระบอก ฐานเว้าลึก ปลายผลตัด ก้านผลมีขนาดเล็ก หนามผลโค้งแหลมคม เปลือกผลสีเขียวอมเหลือง เนื้อละเอียดมาก สีเหลืองอ่อน รสชาติหวานมัน กลิ่นอ่อน โดยธรรมชาติออกผลในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนสิงหาคมของทุกปี (นฤมล, ๒๕๓๗) ราคาของทุเรียนหลินลับแลจากสถิติเมื่อปีก่อนหน้านี้สามารถขายได้ถึงกิโลกรัมละ ๘๐๐-๑,๐๐๐ บาท เป็นทุเรียนของฝากที่เกษตรกรสามารถปลูกแล้วได้ผลดีเฉพาะในเขตอุตรดิตถ์เท่านั้น หากเอาไปปลูกที่อื่นส่วนมากมักมีเฉพาะต้น แต่ไม่มีผลผลิตออกมา หากนำไปขายในห้างสรรพสินค้าราคาจะไม่ต่ำกว่าลูกละ ๑,๘๐๐ บาท ซึ่งทำรายได้ให้แก่ชาวสวนในจังหวัดอุตรดิตถ์ไม่ต่ำกว่า ๑๕๐ ล้านบาทต่อปี ปัจจุบันนอกจากขายในประเทศแล้ว ยังมีพ่อค้ามารับซื้อเพื่อไปส่งตลาดต่างประเทศ โดยราคาที่มารับซื้อมักแพงกว่าที่ซื้อขายในประเทศ ๕-๑๐ บาท (ตามมาตรฐานของทุเรียน) โดยเกณฑ์ที่คัดคือ เอาพูและน้ำหนัก ที่สำคัญคือ ต้องแก่ ถ้าเป็นการส่งเข้าจีนต้องคัดน้ำหนักให้ได้ ๓-๔ กิโลกรัม/ลูก ความแก่ของทุเรียนประมาณ ๗๐-๘๐ เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าเป็นการส่งไปกัมพูชา ทุเรียนต้องมี ๔-๕ พูเต็ม น้ำหนัก ๔-๕ กิโลกรัม/ลูก ความแก่ประมาณ ๙๐ เปอร์เซ็นต์ แต่ทั้งนี้ทุเรียนส่งออกจากลับแลมักเป็นพันธุ์หมอนทองทั้งหมด ส่วนสายพันธุ์พื้นเมืองอย่างหลงลับแลและหลินลับแลนั้น แค่ขายในประเทศก็ยังมีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคด้วยซ้ำไป
สาเหตุที่ทำให้ทุเรียนพันธุ์หลินลับแลมีราคาค่อนข้างสูง
เป็นเพราะมีรสชาติที่อร่อยไม่เหมือนพันธุ์อื่น อีกทั้งยังมีคุณภาพดี
จึงเป็นที่ต้องการของท้องตลาด ซึ่งไม่สมดุลกับปริมาณของทุเรียนที่ผลิตได้ในแต่ละปี
เพราะทุเรียนสายพันธุ์นี้เป็นผลไม้ที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเสียบยอดกับต้นทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองในพื้นที่การเพาะเมล็ด
การตอน การติดตา และการทาบกิ่ง ซึ่งทำได้ยากและใช้เวลานานกว่า ๖-๘ ปี (เทคโนโลยีชาวบ้าน, ๒๕๕๘) การผลิตมีปัญหาการขาดแคลนต้นพันธุ์ทุเรียนหลินลับแลทำให้ไม่สามารถขยายการส่งออก
ทั้งที่ตลาดมีความต้องการ และมีราคาสูง การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะทําใหสามารถผลิตได้ในปริมาณมาก
การขยายพันธุดวยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเปนการนำส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชที่สะอาดปราศจากเชื้อจุลินทรียมาเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์และมีการควบคุมอุณหภูมิ
ความชื้น และแสงสว่าง ในกระบวนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ขั้นตอนที่สําคัญคือการฆ่าเชื้อโรค ซึ่งสามารถใช้สารเคมีชนิดต่าง ๆ ในความเข้มข้นที่เหมาะสม
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเป็นวิธีการขยายพันธุ์พืช ด้วยการนำชิ้นส่วนพืช
(ที่ยังมีชีวิต) เช่น ลำต้น ยอด ตาข้าง เมล็ด ดอก ช่อดอก ใบ ก้านใบ อับเรณู
มาเพาะเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์และเลี้ยงในสภาพที่เหมาะสม
ชิ้นส่วนนั้นสามารถเจริญเติบโตและพัฒนาเป็นพืชที่สมบูรณ์มีทั้งส่วนใบ ลำต้น และราก
ที่สามารถออกปลูกในสภาพธรรมชาติได้ การนำเอาส่วนใดของพืชมาเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์
ซึ่งประกอบด้วยเกลือ แร่ธาตุ น้ำตาล วิตามิน และฮอร์โมนพืชในสภาพปลอดเชื้อ (aseptic
condition) จากเชื้อราและแบคทีเรีย และในสภาพแวดล้อมที่ควบคุม เช่น
อุณหภูมิ ความชื้น และแสงสว่าง (บรรจง, ๒๕๔๑)
ปัญหาของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชคือ
การทำให้ชิ้นส่วนพืชที่นำมาเพาะเลี้ยงมีความปราศจากเชื้อจุลินทรีย์
เนื่องจากในสภาพธรรมชาติแล้ว ส่วนต่าง ๆ ของพืชมีเชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ
ติดอยู่ไม่ว่าจะเป็นเชื้อราหรือแบคทีเรียอันเป็นตัวการสำคัญของการปนเปื้อน (contamination)
ในอาหารเพาะเลี้ยงเพราะเชื้อจุลินทรีย์เหล่านั้นสามารถเจริญเติบโตได้ดีในอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชและทำให้อาหารเน่าเสียอย่างรวดเร็วส่งผลทำให้ชิ้นส่วนของพืชเน่าไปด้วยและมีสารเคมีหลายชนิดและวิธีต่าง
ๆ
ที่ใช้ในการทำความสะอาดให้ชิ้นส่วนพืชมีความปลอดเชื้อซึ่งสามารถเลือกใช้ให้เกิดความเหมาะสมกับเนื้อเยื่อพืชและประสิทธิภาพที่จะฆ่าเชื้อจุลินทรีย์
(ธนิกานต์และพิชัย, ๒๕๕๕)
วัตถุประสงค์
๑.
เพื่อตรวจสอบเปอร์เซ็นต์การปลอดเชื้อและเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตของตาข้างทุเรียนพื้นเมืองพันธุ์หลินลับแล
ในอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ในสภาพปลอดเชื้อ
๒. เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารฟอกฆ่าเชื้อและระยะเวลาการฟอกฆ่าเชื้อ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
๑. ทราบถึงเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตและเปอร์เซ็นต์การปนเปื้อนของตาข้างทุเรียนพื้นเมืองพันธุ์หลินลับแล
ในอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
๒. ทราบถึงฤทธิ์ของสารเคมีและระยะเวลาต่าง
ๆ ในการฟอกฆ่าเชื้อ
๓. เป็นข้อมูลพื้นฐานในการขยายพันธุ์ทุเรียนพันธุ์หลินลับแลโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
๒.๓.๓ เทคนิคการฟอกฆ่าเชื้อทุเรียนพันธุ์หลงลับแล
ในอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
ที่มาและความสำคัญ
ประเทศไทยเป็นประเทศที่อุดมไปด้วยทรัพยากรการเกษตร
โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีผลไม้ที่เต็มไปด้วยคุณภาพ ซึ่งเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคอย่างยิ่ง
ทุเรียนยังคงเป็นพืชเศรษฐกิจที่น่าสนใจเพราะทุเรียนนั้นเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค
ซึ่งทำให้ยังคงมีเกษตรกรผู้ที่ต้องการต้นกล้าของทุเรียนพันธุ์ดีนั้นยังมีอยู่อีกเป็นจำนวนมาก
โดยทุเรียนภายในประเทศที่นิยมปลูกมีอยู่หลากหลายพันธุ์ การขยายพันธุ์ทุเรียนมีหลายวิธี
เช่น การเพาะเมล็ด การติดตา การทาบกิ่ง และการเสียบยอด ซึ่งเป็นวิธีการขยายพันธุ์ทุเรียนโดยใช้ต้นตอเป็นพันธุ์พื้นเมือง
ทำได้สะดวกและได้จำนวนมาก ได้ผลดีกว่าวิธีอื่น (ทีมรักบ้านเกิด, ๒๕๕๖)
ทุเรียนพันธุ์หลงลับแลถือเป็นพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิมของอุตรดิตถ์
ต้นกำเนิดมาจากทุเรียนป่าที่ชาวบ้านนำมาเพาะปลูก แล้วพัฒนาสายพันธุ์กันมาหลายปีจนมีเอกลักษณ์และมีการปรับปรุงสายพันธุ์ด้วยตัวของมันเอง
พันธุ์หลงลับแลนั้นเดิมอยู่ที่ม่อนน้ำจำ หมู่ ๗ บ้านผามูบ ตำบลแม่พูล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่นำทุเรียนป่าไม่ทราบพันธุ์มาปลูกจนต้นโตติดผลและมีคุณสมบัติเด่นคือ
เนื้อสุกเต็มพู เมล็ดลีบ เนื้อสีเข้มไม่เละแต่เหนียว กลิ่นไม่แรง เปลือกบาง
เนื้อทุเรียนละเอียดนุ่ม หอมมัน ไม่หวานเกินไป
เป็นทุเรียนรสชาติดีที่หารับประทานยาก เป็นทุเรียนของฝากที่เกษตรกรสามารถปลูกแล้วได้ผลดี
เฉพาะในเขตอุตรดิตถ์เท่านั้นหากเอาไปปลูกที่อื่นส่วนมากมักมีเฉพาะต้น แต่ไม่มีผลผลิตออกมา
ปลูกได้ผลผลิตดีคุณภาพดีแค่ในเขตอำเภอลับแลเท่านั้นกลายเป็นทุเรียนที่ได้รางวัลยอดเยี่ยมจากการประกวดของกรมวิชาการเกษตรเมื่อปี
พ.ศ.๒๕๒๐ (พลังเกษตร, ๒๕๕๘)
ชาวสวนทุเรียนของอำเภอลับแล
ส่วนมากนิยมปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทองเพื่อการส่งออกไปยังประเทศจีน-เวียดนาม
ส่วนทุเรียนพันธุ์หลงลับแล-หลินลับแล
ที่สร้างชื่อเสียงให้แก่อุตรดิตถ์นั้นจะเป็นทุเรียนที่นิยมบริโภคกันภายในประเทศ
แต่ปัจจุบันการผลิตจำนวนต้นของทุเรียนพันธุ์หลงลับแลมีปริมาณน้อยจึงไม่พอต่อการขายจึงมีการศึกษาการฟอกฆ่าเชื้อเพื่อนำมาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อต่อไป
ราคาของทุเรียนพันธุ์หลงลับแลอยู่ที่กิโลกรัมละ ๓๐๐ บาท
ซึ่งต้นหนึ่งก็ขายได้ประมาณหมื่นกว่าบาททีเดียว ทุเรียนพันธุ์หลงลับแลมีเอกลักษณ์เรื่องพื้นที่ปลูกบนภูเขาสูง
เก็บเกี่ยวและขนส่งลำบาก โดยจังหวัดส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพผลผลิต
คาดว่าจะมีรายได้จากการจำหน่ายทุเรียนกว่า ๒,๐๐๐ ล้านบาท (ภูมิภาค.ประชาธุรกิจ, ๒๕๕๘)
การเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชด้วยการนำชิ้นส่วนพืช
(ที่ยังมีชีวิต) เช่น ลำต้น ยอด ตาข้าง เมล็ด ดอก ช่อดอก ใบ ก้านใบ อับเรณู มาเพาะเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์และเลี้ยงในสภาพที่เหมาะสม
ชิ้นส่วนนั้นสามารถเจริญเติบโตและพัฒนาเป็นพืชที่สมบูรณ์มีทั้งส่วนใบ ลำต้น และราก
ที่สามารถออกปลูกในสภาพธรรมชาติได้ การนำเอาส่วนใดของพืชมาเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์
ซึ่งประกอบด้วยเกลือ แร่ธาตุ น้ำตาล วิตามิน และฮอร์โมนพืชในสภาพปลอดเชื้อ (aseptic
condition) จากเชื้อราและแบคทีเรีย และในสภาพแวดล้อมที่ควบคุม เช่น
อุณหภูมิ ความชื้น และแสงสว่าง (เทคนิคการเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช,
๒๕๕๖)
ปัญหาของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชคือ
การทำให้ชิ้นส่วนพืชที่นำมาเพาะเลี้ยงมีความปราศจากเชื้อจุลินทรีย์
เนื่องจากในสภาพธรรมชาติแล้ว ส่วนต่าง ๆ ของพืชมีเชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ ติดอยู่ไม่ว่าจะเป็นเชื้อราหรือแบคทีเรียอันเป็นตัวการสำคัญของการปนเปื้อน
(contamination)
ในอาหารเพาะเลี้ยง
เพราะเชื้อจุลินทรีย์เหล่านั้นสามารถเจริญเติบโตได้ดีในอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชและทำให้อาหารเน่าเสียอย่างรวดเร็วส่งผลทำให้ชิ้นส่วนของพืชเน่าไปด้วย
และมีสารเคมีหลายชนิดและวิธีต่าง ๆ
ที่ใช้ในการทำความสะอาดให้ชิ้นส่วนพืชมีความปลอดเชื้อ
ซึ่งสามารถเลือกใช้ให้เกิดความเหมาะสมกับเนื้อเยื่อพืชและประสิทธิภาพที่จะฆ่าเชื้อจุลินทรีย์
(ธนิกานต์และพิชัย, ๒๕๕๕)
ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้จึงศึกษาเทคนิคการฟอกฆ่าเชื้อของทุเรียนพันธุ์หลงลับแล
เพื่อเป็นพื้นฐานของการขยายพันธุ์ต้นทุเรียนหลินลับแลโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อต่อไป
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อตรวจสอบเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตและเปอร์เซ็นต์การปลอดเชื้อของตาข้างทุเรียนพื้นเมืองพันธุ์หลงลับแล
ในอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ในสภาพปลอดเชื้อ
๒.
เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของโซเดียมไฮโปคลอไรต์และซิลเวอร์ไนเทรตในการฟอกฆ่าเชื้อและระยะเวลาการฟอกฆ่าเชื้อ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
๑. ทราบถึงเทคนิคการฟอกฆ่าเชื้อของตาข้างทุเรียนพื้นเมืองพันธุ์หลงลับแลให้ปลอดเชื้อ
๒. ทราบถึงเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตและเปอร์เซ็นต์การปลอดเชื้อของตาข้างทุเรียนพื้นเมืองหลงลับแลและที่ผ่านการฆ่าเชื้อจากสารเคมีและระยะเวลาต่าง
ๆ
๓. เป็นข้อมูลพื้นฐานในการขยายพันธุ์ทุเรียนพันธุ์หลงลับแลโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
๒. ทราบถึงเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตและเปอร์เซ็นต์การปลอดเชื้อของตาข้างทุเรียนพื้นเมืองหลงลับแลและที่ผ่านการฆ่าเชื้อจากสารเคมีและระยะเวลาต่าง ๆ
๓. เป็นข้อมูลพื้นฐานในการขยายพันธุ์ทุเรียนพันธุ์หลงลับแลโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมศูนย์ข้อมูลทรัพยากร
กิจกรรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานศึกษาวิจัยใน อพ.สธ. รวมทั้งพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ อพ.สธ. ให้เป็นเอกภาพ สมบูรณ์ และเป็นปัจจุบัน โดยบรรลุจุดมุ่งหมายตามแนวพระราชดำริ ทางโครงการ อพ.สธ.-มรภ.อุตรดิตถ์ จึงได้ดำเนินโครงการศูนย์ข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพท้องถิ่น
โครงการศูนย์ข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพท้องถิ่น
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
จากการดำเนินกิจกรรมของศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืช
ภายใต้โครงการศูนย์ข้อมูลเป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ด้านพรรณไม้
เป็นการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานวิจัยใน อพ.สธ.
ในด้านการพัฒนาและบริหารจัดการในการดำเนินงานและเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อกันข้อมูลพรรณไม้ในพื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์มีข้อมูลอยู่เป็นจำนวนมากควรได้รับการตรวจสอบ
และบันทึกข้อมูลลงระบบฐานข้อมูลให้มีความถูกต้อง จัดเก็บให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
และสามารถสืบค้นหาข้อมูลพรรณไม้ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ในการสืบค้นนั้นจำเป็นต้องสืบค้นข้อมูลจากสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
ผู้สืบค้นข้อมูลเกิดความล่าช้าในการสืบค้นข้อมูลพรรณไม้ชนิดต่าง ๆ ที่มีการปลูกในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
อาจจะไม่สะดวกต่อการสืบค้นข้อมูลพรรณไม้
ซึ่งการสืบค้นข้อมูลพรรณไม้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ควรต้องมีความสะดวก
รวดเร็ว ง่ายต่อการสืบค้น และมีความถูกต้องของข้อมูลพรรณไม้
จากปัญหาดังกล่าว ผู้จัดทำได้คิดพัฒนาระบบฐานข้อมูลพรรณไม้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์โดยใช้ข้อมูลจากงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เพื่อช่วยในการสืบค้นข้อมูลพรรณไม้ของงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ และทำให้การสืบค้นข้อมูลมีความสะดวก รวดเร็ว
และง่ายต่อการสืบค้นข้อมูลพรรณไม้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ โดยระบบดังกล่าวจะอำนวยความสะดวกต่าง
ๆ ในการสืบค้นข้อมูลพรรณไม้ การเพิ่มเติมข้อมูลพรรณไม้
การแสดงตำแหน่งของพรรณไม้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ และการแสดงรายละเอียดต่าง ๆ
โดยการนำ Google map API มาใช้ในการค้นหาข้อมูลพรรณไม้
ทำให้มีความสะดวกง่ายต่อการค้นหาและการแสดงตำแหน่งได้อย่างถูกต้อง
วัตถุประสงค์
๑.
เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลพรรณไม้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
๒. เพื่อจัดเก็บข้อมูลพรรณไม้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
๑)
ได้ระบบฐานข้อมูลพรรณไม้ที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ให้ทันสมัยและครอบคลุมตัวอย่างให้มากที่สุด
๒) สามารถสืบค้นข้อมูลพรรณไม้
ได้อย่างสะดวก รวดเร็วมากขึ้น
๓) ฐานข้อมูลพรรณไม้ถูกจัดเก็บให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากร
กิจกรรมนี้จัดอยู่ในกรอบการสร้างจิตสำนึก มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ โดยเฉพาะเยาวชน นักเรียน นิสิตนักศึกษา และบุคคลทั่วไป ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพืชพรรณไม้ และการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชของประเทศ จนตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อมหาชนชาวไทย ซึ่งทางมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ได้ดำเนินงานในกิจกรรมนี้ คือ โครงการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
โครงการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
จังหวัดอุตรดิตถ์เป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติ มีพรรณไม้นานาชนิด สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายในด้านปัจจัย ๔ ทั้งเป็นอาหาร ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม และที่อยู่อาศัย ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ได้สนองพระราชดำริในงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งเป็นงานสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ทรัพยากรชีวภาพ และทรัพยากรกายภาพ โดยเน้นให้เยาวชนได้สัมผัส เรียนรู้ สร้างและปลูกฝังคุณธรรม และเสริมสร้างปัญญาและภูมิปัญญา
ปัจจุบันมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ได้รวบรวมพรรณไม้ทั้งที่มีชีวิตและพรรณไม้แห้ง รวมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับเป็นข้อมูลในการศึกษา อนุรักษ์ และนำไปใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อไป แต่ยังมีพรรณไม้อีกหลายชนิดและภูมิปัญญาท้องถิ่นต่าง ๆ ที่ยังไม่ได้รวบรวมและศึกษาอย่างเป็นระบบ ซึ่งนับว่ามีความสำคัญ สามารถนำมาใช้ประโยชน์และพัฒนาได้ การสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ทรัพยากรชีวภาพ และทรัพยากรกายภาพ รวมถึงภูมิปัญญาเหล่านี้ จะสามารถช่วยปลูกฝังให้เยาวชนรู้สึกรักและหวงแหนทรัพยากรต่าง ๆ ของประเทศ และร่วมกันอนุรักษ์ให้คงอยู่ต่อไป
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนและฐานทรัพยากรท้องถิ่น
๒. เพื่อจัดทำแหล่งเรียนรู้แปลงอนุรักษ์พืชสมุนไพร
๓. เพื่อจัดทำฐานการเรียนรู้เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
ผลการดำเนินงาน
ดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนตามองค์ประกอบ ๕ องค์ประกอบ ได้แก่ การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้ การรวบรวมพรรณไม้เข้าปลูกในโรงเรียน การศึกษาข้อมูลด้านต่าง ๆ การรายงานผลการเรียนรู้ และการนำไปใช้ประโยชน์ทางการศึกษา
กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากร
กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ดำเนินงานเกี่ยวข้องและสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการ อพ.สธ. เช่น การจัดงานประชุมวิชาการและนิทรรศการต่าง ๆ การจัดอบรมต่าง ๆ ของหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริ หรือการจัดทำหนังสือ เป็นต้น ทางโครงการ อพ.สธ.-มรภ.อุตรดิตถ์ ดำเนินงานในกิจกรรมนี้หลายโครงการ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
โครงการอื่น ๆ
๕.๗.๑ การจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ
ในงาน “ราชภัฏวิชาการ ๕๘ : URU Academic Exhibition”
ในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมายุ ๘๘ พรรษา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันที่ ๕ ธันวาคม
๒๕๕๘ และเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมายุ
๕ รอบ ๒ เมษายน ๒๕๕๘ ตามที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทรงสืบสานพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในงานอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรประเทศ
โดยโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตน
ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)
ได้ดำเนินการอนุรักษ์ พัฒนา และใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างยั่งยืน สู่เศรษฐกิจพอเพียง ตามแผนแม่บทระยะ ๕
ปีที่ห้า (ตุลาคม ๒๕๕๔ ถึงกันยายน ๒๕๕๙) มีกรอบการดำเนินงาน ๓ กรอบ ๘
กิจกรรม ได้แก่ กรอบการเรียนรู้ทรัพยากร (กิจกรรมปกปักพันธุกรรมพืช
กิจกรรมสำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืช กิจกรรมปลูกรักษาพันธุกรรมพืช)
กรอบการใช้ประโยชน์ (กิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืช
กิจกรรมศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืช กิจกรรมวางแผนพัฒนาพันธุ์พืช)
และกรอบการสร้างจิตสำนึก (กิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช กิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช)
โดยดำเนินงานเน้นในฐานทรัพยากร ๓ ฐาน ได้แก่ ทรัพยากรชีวภาพ ทรัพยากรกายภาพ
และทรัพยากรวัฒนธรรมและภูมิปัญญา
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
สนองพระราชดำริโดย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ (อพ.สธ.-มรภ.อุตรดิตถ์)
ได้ดำเนินงานสนองพระราชดำริตามกรอบการดำเนินงานและแผนแม่บทของโครงการ
อพ.สธ. ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
และเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานของโครงการ อพ.สธ.-มรภ.อุตรดิตถ์
จึงจัดนิทรรศการในงาน “ราชภัฏวิชาการ ๕๘ : URU Academic Exhibition” ขึ้นในวันที่ ๓-๔ ธันวาคม ๒๕๕๘ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ในงานด้านการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรประเทศ
๒.
เพื่อเผยแพร่ผลการดำเนินงานและเป็นการประชาสัมพันธ์โครงการ อพ.สธ.-มรภ.อุตรดิตถ์
๓. เพื่อประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ
ทำให้เกิดเครือข่ายการประสานงานที่ดีในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
อันจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่โครงการฯ
๕.๗.๒ การจัดนิทรรศการในงาน ๘๐ ปี
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๙ สถาบันทรงคุณค่า พัฒนาท้องถิ่น
อย่างยั่งยืน
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทรงสืบสานพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในงานอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรประเทศ
โดยโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ได้ดำเนินการอนุรักษ์ พัฒนา
และใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างยั่งยืน
สู่เศรษฐกิจพอเพียง ตามแผนแม่บทระยะ ๕ ปีที่ห้า (ตุลาคม ๒๕๕๔ ถึงกันยายน ๒๕๕๙)
มีกรอบการดำเนินงาน ๓ กรอบ ๘ กิจกรรม ได้แก่ กรอบการเรียนรู้ทรัพยากร
(กิจกรรมปกปักพันธุกรรมพืช กิจกรรมสำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืช
กิจกรรมปลูกรักษาพันธุกรรมพืช) กรอบการใช้ประโยชน์ (กิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืช กิจกรรมศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืช
กิจกรรมวางแผนพัฒนาพันธุ์พืช) และกรอบการสร้างจิตสำนึก
(กิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช กิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช) โดยดำเนินงานเน้นในฐานทรัพยากร ๓
ฐาน ได้แก่ ทรัพยากรชีวภาพ ทรัพยากรกายภาพ และทรัพยากรวัฒนธรรมและภูมิปัญญา
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
สนองพระราชดำริโดย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ (อพ.สธ.-มรภ.อุตรดิตถ์)
ได้ดำเนินงานสนองพระราชดำริตามกรอบการดำเนินงานและแผนแม่บทของโครงการ อพ.สธ.
ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
และเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานของโครงการ อพ.สธ.-มรภ.อุตรดิตถ์
จึงจะจัดนิทรรศการในงาน ๘๐ ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๙
สถาบันทรงคุณค่า พัฒนาท้องถิ่น อย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี ในงานด้านการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรประเทศ
๒. เพื่อเผยแพร่ผลการดำเนินงาน ๘๐ ปี
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ และเป็นการประชา สัมพันธ์โครงการ อพ.สธ.-มรภ.อุตรดิตถ์
๓. เพื่อประสานงานกับหน่วยงานต่าง
ๆ ทำให้เกิดเครือข่ายการประสานงานที่ดีในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
อันจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่โครงการฯ
๕.๗.๓ การจัดนิทรรศการเทคโนโลยีก้าวหน้า
ศึกษา “มะเกี๋ยง” พืชอนุรักษ์ พัฒนาประโยชน์อย่างยั่งยืน
หลักการและเหตุผล
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ดำเนินงานสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)
ตามพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ข้อที่ ๔ ทำนุบำรุงรักษาศิลปะและวัฒนธรรม
สืบสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในการส่งเสริมและสืบสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในการปฏิบัติภารกิจของมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น โดยดำเนินงานตามแผนแม่บทของโครงการ อพ.สธ. ระยะ ๕ ปีที่ห้า (ตุลาคม ๒๕๕๔-กันยายน ๒๕๕๙)
มีกรอบการดำเนินงาน ๓
กรอบ ได้แก่ กรอบการเรียนรู้ทรัพยากร
กรอบการใช้ประโยชน์ และกรอบการสร้างจิตสำนึก โดยเน้นในฐานทรัพยากร ๓ ฐาน
คือ ทรัพยากรชีวภาพ ทรัพยากรกายภาพ และทรัพยากรวัฒนธรรมและภูมิปัญญา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของกิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
และกิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
โครงการ อพ.สธ. ได้ดำเนินงานเกี่ยวกับการวิจัยและการพัฒนาการใช้ประโยชน์จากพืชอนุรักษ์ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ “มะเกี๋ยง” มีการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชมะเกี๋ยง
รวบรวมพันธุ์และปลูกรักษาโดยโครงการ อพ.สธ. มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๗ ร่วมกับมหาวิทยาลัยและหน่วยงานต่าง ๆ
ที่ร่วมสนองพระราชดำริในการศึกษาวิจัย
เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตลำปาง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่
เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ มหาวิทยาลัยพะเยา
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเชียงรายและลำปาง
องค์การส่งเสริมกิจการโคนมภาคเหนือตอนบน เป็นต้น
จากการศึกษาวิจัยและพัฒนาการใช้ประโยชน์จากมะเกี๋ยง ทำให้มีผลการศึกษาต่าง ๆ
และเกิดเป็นองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับมะเกี๋ยงในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านชีววิทยา
การปลูกและการเขตกรรม
ตลอดจนการใช้ประโยชน์จากมะเกี๋ยงที่นำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
ทาง อพ.สธ.-มรภ.อุตรดิตถ์
จึงได้นำความรู้จากงานวิจัยมานำเสนอจัดนิทรรศการในงาน
“สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติส่วนภูมิภาค ประจำปี ๒๕๕๙”
โดยรวบรวมและเรียบเรียงความรู้ที่ได้จากการสำรวจและศึกษาวิจัยด้านต่าง ๆ
ที่เกี่ยวกับมะเกี๋ยงของหน่วยงานร่วมสนองพระราชดำริ
เพื่อเป็นข้อมูลและเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจได้ศึกษาค้นคว้าต่อไป
วัตถุประสงค์
๑.
เพื่อสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
๒. เพื่อเผยแพร่งานพืชอนุรักษ์
อพ.สธ. “มะเกี๋ยง”
๒. เพื่อเผยแพร่ผลการดำเนินงาน ๘๐ ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ และเป็นการประชา สัมพันธ์โครงการ อพ.สธ.-มรภ.อุตรดิตถ์
๓. เพื่อประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทำให้เกิดเครือข่ายการประสานงานที่ดีในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่โครงการฯ
๕.๗.๓ การจัดนิทรรศการเทคโนโลยีก้าวหน้า ศึกษา “มะเกี๋ยง” พืชอนุรักษ์ พัฒนาประโยชน์อย่างยั่งยืน
หลักการและเหตุผล
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ดำเนินงานสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)
ตามพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ข้อที่ ๔ ทำนุบำรุงรักษาศิลปะและวัฒนธรรม
สืบสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในการส่งเสริมและสืบสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในการปฏิบัติภารกิจของมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น โดยดำเนินงานตามแผนแม่บทของโครงการ อพ.สธ. ระยะ ๕ ปีที่ห้า (ตุลาคม ๒๕๕๔-กันยายน ๒๕๕๙)
มีกรอบการดำเนินงาน ๓
กรอบ ได้แก่ กรอบการเรียนรู้ทรัพยากร
กรอบการใช้ประโยชน์ และกรอบการสร้างจิตสำนึก โดยเน้นในฐานทรัพยากร ๓ ฐาน
คือ ทรัพยากรชีวภาพ ทรัพยากรกายภาพ และทรัพยากรวัฒนธรรมและภูมิปัญญา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของกิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
และกิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
โครงการ อพ.สธ. ได้ดำเนินงานเกี่ยวกับการวิจัยและการพัฒนาการใช้ประโยชน์จากพืชอนุรักษ์ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ “มะเกี๋ยง” มีการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชมะเกี๋ยง
รวบรวมพันธุ์และปลูกรักษาโดยโครงการ อพ.สธ. มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๗ ร่วมกับมหาวิทยาลัยและหน่วยงานต่าง ๆ
ที่ร่วมสนองพระราชดำริในการศึกษาวิจัย
เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตลำปาง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่
เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ มหาวิทยาลัยพะเยา
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเชียงรายและลำปาง
องค์การส่งเสริมกิจการโคนมภาคเหนือตอนบน เป็นต้น
จากการศึกษาวิจัยและพัฒนาการใช้ประโยชน์จากมะเกี๋ยง ทำให้มีผลการศึกษาต่าง ๆ
และเกิดเป็นองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับมะเกี๋ยงในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านชีววิทยา
การปลูกและการเขตกรรม
ตลอดจนการใช้ประโยชน์จากมะเกี๋ยงที่นำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
ทาง อพ.สธ.-มรภ.อุตรดิตถ์
จึงได้นำความรู้จากงานวิจัยมานำเสนอจัดนิทรรศการในงาน
“สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติส่วนภูมิภาค ประจำปี ๒๕๕๙”
โดยรวบรวมและเรียบเรียงความรู้ที่ได้จากการสำรวจและศึกษาวิจัยด้านต่าง ๆ
ที่เกี่ยวกับมะเกี๋ยงของหน่วยงานร่วมสนองพระราชดำริ
เพื่อเป็นข้อมูลและเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจได้ศึกษาค้นคว้าต่อไป